March 29 2024 14:40:10
เมนู
หน้าแรก
ใบคำร้องฯ
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๔
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๑
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี ประถม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี มัธยม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี อุดม
ทดสอบสอบความรู้จากข้อสอบธรรมศึกษา 2543-2562
eLearning ธรรมศึกษา
วีดิโอสอนธรรมศึกษา
ระเบียบการจัดสอบ ๒๕๖๐
กระดาษเขียนกระทู้ธรรม ธศ.
สมุดลงนามฯ (สมุดเยี่ยม)
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
บัญชีบรรจุใบตอบปรนัย
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ น.ธ.
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ ธ.ศ.
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน (แบบใหม่ ๒๕๖๑)
วิธีระบายเลขที่สอบ (ธรรมศึกษา)
นักธรรม (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
นักธรรม (ฟอร์มขอแก้ไข)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มขอแก้ไข)
ดาวน์โหลด
ปัญหา-เฉลย นักธรรม ๖๔
ปัญหา-เฉลย น.ธ.-ธ.ศ. ๖๕
สถิติสอบธรรม ๒๕๖๒
อันดับสำนักเรียนสอบได้มาก

ประวัตินักธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทำเนียบแม่กองธรรม
ทำเนียบผู้บริหารปัจจุบัน
แม่กองธรรมสนามหลวง
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
หนังสือประกอบหลักสูตร
ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา
ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
กฏกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๘

การขอใบรับรอง

ห้องแสดงภาพ
ห้องสนทนา
บทความ
เว็บลิงค์
คำถามยอดนิยม
ค้นหา

ส่งบทความ
ปฏิทินกิจกรรม

วิดีโอแกลอรี่
เพิ่มวิดีโอ
วีดีทัศน์เกี่ยวกับสอบธรรม 2553
ผู้มีสิทธิสอบ
ฝ่ายธุรการ
รายชื่อรัฐของสหรัฐอเมริกา
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
ติดต่อสำนักเรียน
ทั่วประเทศ
ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค (ม)
ส่วนภูมิภาค (ธ)

เจ้าคณะตำบล-อำเภอ-จังหวัด
วัดทั่วประเทศ
สถานศึกษาทั่วประเทศ

สนามสอบทั่วประเทศ
สนามสอบนักธรรม ส่วนกลาง
ระเบียบปฏิบัติ
MOU ธรรมศึกษา
คำปราศรัยฯ น.ธ.ตรี
คำปราศรัยฯ น.ธ.โท-เอก
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ

ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน
คำอธิบายการฝนใบคำตอบ

ระเบียบการจัดสอบ
กำหนดวันสอบ ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนภูมิภาค ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ภาคผนวก ๒๕๖๖
เล่มสนามสอบ สมัยที่ ๒

วิธีการตรวจข้อสอบนักธรรม
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
สนามหลวง แผนกบาลี
ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย
ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
หัวข้อแนะนำ
พระมหาสมณเจ้าฯ

งานฉลอง ๙๗ พระชันษา

ดูสถิติการเข้าชมเว็บของคุณ
Youtube Gallery
   วิดีโอทั้งหมด (11)
   พระประวัติ และ ประวัติ (3)
   การศึกษาของสงฆ์ไทย (1)
   พิธีเปิดสอบธรรม พ.ศ. 2553 (0)
   คู่มือ-เทคนิค-วิธีการ (7)
วิดีโอล่าสุด
video

video

สนง.พระพุทธศาสนาฯ



ชวนเพื่อนมาชมเว็บนี้

อีเมล์คุณ:
ส่งถึงเพื่อน:
คัดลอกสำเนา?
งานธรรมศึกษา....งานเล็กๆ ที่พระทำ.....แต่เป็นงานใหญ่ของสังคม
งานธรรมศึกษา....งานเล็กๆ ที่พระทำ.....แต่เป็นงานใหญ่ของสังคม

โดย พระพจนารถ ปภาโส
รองหัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผน
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง



         พระราชวิริยอุตสาหะ ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทผ่านโครงการพระราชดำริ ด้วยทรงมุ่งหวังให้พระราชปณิธาน ที่ทรงประกาศเป็นพระปฐมพระบรมราชโองการ ว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ” ได้เป็นที่ประจักษ์แก่มหาชนชาวไทยมาตลอดรัชสมัย แม้ในยามที่ทรงมีพระอาการประชวร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ มิได้ละเลยพระราชหฤทัยให้ ห่างเหินไปจากพระราชกรณียกิจที่จะทำให้พระราชปณิธานได้บรรลุผล

         ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของคนไทยผู้จงรักภักดี ย่อมนำให้ทุกคนยอมรับให้พระองค์ทรงเป็นบุรพการีชนของตน อนิจจา...ความเป็นคนไทยในยุคปัจจุบัน ที่ห่างเหินจากพุทธธรรม อันเป็นรากเหง้าของวัฒนธรรมประเพณีไทย ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไร้สำนึกแห่งความกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ อาจมีเสียงแย้งว่า ความจงรักภักดีที่มีเต็มเปี่ยมอยู่ในใจ และพร่ำกล่าวต่อสาธารณชนเสมอว่า “ รักในหลวง ”

         ความจริงที่เห็นคือคนไทยนี่เอง....ที่เป็นสาเหตุนำให้พระองค์ปรากฏพระอาการประชวรได้บ่อยครั้งขึ้น พระชนมายุที่สูงวัยมากขึ้น กลับต้องทรงประสบกับปัญหาของคนไทยที่เพิ่มทวีคูณมากขึ้น ยากที่สามัญชนคนไทยจะรับรู้ความเป็นไปในพระราชหฤทัยของพระองค์ ไม่อาจเปรียบเทียบกับสิ่งใดได้เลย รอยพระสรวลที่เคยปรากฏ จักหวนคืนมาอีกหรือไม่หนอ?

         ด้วยตระหนักถึงความมั่นคงในการรักษาความเป็นไทยให้คงอยู่กับคนไทยบนพื้นแผ่นดินไทย คณะสงฆ์ไทย ภายใต้การบริหารของมหาเถรสมาคม จึงมุ่งมั่นที่จะเผยแผ่ความรู้ในพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องให้แก่คนไทย ซึ่งเป็นงานที่พระมหาเถระผู้เป็นบูรพาจารย์ได้ถือเป็นสมณกิจบำเพ็ญสืบเนื่องมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย บางยุคสมัยพระสงฆ์จักต้องทรงภูมิความรู้ในสรรพศาสตร์ที่จำเป็นต้องการรักษาแผ่นดินให้คงอยู่สืบต่อมา คนไทยต่างยึดวัดเป็นแหล่งแห่งการเรียนรู้หลักวิชาในการดำเนินชีวิต ตราบจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ที่นำคนไทยให้พ้นห่างจากวัด ไปสู่วิถีทางแห่งการศึกษาที่มุ่งเน้นแต่ความรู้ในการดำเนินชีวิต อันเป็นผลให้เกิดความเจริญทางวัตถุ มากกว่าความเจริญทางด้านจิตใจ

         ด้วยความตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงในการศึกษาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อรักษาภูมิปัญญาที่เป็นรากเหง้าของสังคมไทย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงทรงดำริสร้าง หลักสูตรอบรมภิกษุสามเณรขึ้น ที่เรียกกันสืบมาว่า “ หลักสูตรนักธรรม ” เพื่อพัฒนาภิกษุสามเณรให้เป็นผู้มีความรู้ในพระพุทธศาสนา สามารถเผยแผ่พุทธธรรมให้เกิดสุขประโยชน์แก่ชุมชนได้ ต่อมาฆราวาสผู้ สนใจใฝ่ศึกษาในพระพุทธศาสนา ได้เรียนหลักสูตรนักธรรมด้วย จึงได้ขอให้มหาเถรสมาคมได้จัดหลักสูตรแก่ฆราวาสด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงพระกรุณาให้จัดหลักสูตรธรรมศึกษาขึ้น สำหรับฆราวาส มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๒ คณะสงฆ์ในยุคต่อมาได้พัฒนาหลักสูตรทั้งสอง ให้มีความเหมาะสมกับสภาพการศึกษาของประเทศ และสมเด็จพระสังฆราช ผู้เป็นประมุขแห่งสงฆ์ โปรดให้มีการจัดสอบความรู้ตามหลักสูตรทั้งสอง เสมอมาจนถึงปัจจุบัน

         สำหรับนักเรียนธรรมศึกษา คงต้องปฏิบัติตนตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการศึกษาที่จะช่วยให้บรรลุถึงจุดหมาย ความว่า

         “... ผู้ที่มุ่งหวังความดีและความเจริญมั่นคงในชีวิตจะต้องไม่ละเลยการศึกษา ความรู้ที่จะศึกษามี ๓ ส่วน คือ ความรู้วิชาการ ความรู้ปฏิบัติการ และความรู้คิดอ่านตามเหตุผลความเป็นจริง อีกประการหนึ่งจะต้องมีความจริงใจและบริสุทธ์ใจไม่ว่าในงานในผู้ร่วมงานหรือในการรักษา ระเบียบแบบแผน ความดีงาม ความถูกต้องทุกอย่าง ประการที่สามต้องฝึกฝนให้มีความหนักแน่นทั้งภายในใจ ในคำพูด ...” (๒๔ มกราคม ๒๕๓๐)

         นี่จักทำให้ได้รับรู้ถึงภารธุระที่ลำบากยิ่งของพระสงฆ์ผู้เป็นครูสอนธรรมให้ อันสอดคล้องกับพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่บัณฑิจมหาวิทยาลัยศรีนครินทวโรฒ มหาสารคาม เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๑๙ ความว่า

          “ การให้การศึกษาเป็นงานที่ละเอียด ซับซ้อน และกว้างขวางมาก จะต้องกระทำโดยอาศัยความรู้ ความสังเกตจดจำ และความฉลาดรอบคอบอย่างสูง ทั้งต้องอาศัยความเสียสละอดทน ความเพียรพยายาม ความสุจริต และความเมตตาอันกว้างขวางพร้อมกัน จึงจะสำเร็จผลที่พึงประสงค์ได้...”

         การขาดความรู้ในพระพุทธศาสนา ย่อมทำให้ขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส ที่ทรงตรัสเพื่อเป็นแนวทางแห่งการดำเนินชีวิต นี่จึงเป็นเหตุให้บัณฑิตผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราโชวาทบางคนได้กระทำการบางอย่าง ด้วยอำนาจแห่งกิเลสตัณหาในจิตใจของตน อันส่งผลให้เกิดความประพฤติมิชอบในตำแหน่งหน้าที่การงาน นำให้เกิดความทุกข์ระทมขึ้นในแผ่นดิน เป็นเหตุให้มีคนกล่าวว่าเขาเป็นคนเนรคุณแผ่นดินได้ในที่สุด

         คนที่ไม่มีความรู้ในพระพุทธศาสนา แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นพุทธศาสนิกชน ถ้าได้บริหารราชการแผ่นดิน หรือองค์กรเอกชน ย่อมสร้างความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นแก่ประเทศชาติได้อย่างรุนแรง เหมือนดังที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน

         แม้คณะสงฆ์จะสามารถสอนธรรมศึกษาแก่พุทธศาสนิกชน ได้ปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่จำนวนธรรมศึกษาที่สำเร็จหลักสูตร ก็ยังไม่เพียงพอต่อการรักษารากเหง้าทางวัฒนธรรมประเพณีของชาติ จนสามารถสร้างความวัฒนาสถาพรให้เกิดขึ้นแก่ประเทศชาติได้ แม้จะรู้ว่าเป็นการยากที่จะสอนบุคคลให้มีธรรมาภิบาลในกาลอันสั้น ด้วยความคิดที่ว่าตะกอนความรู้ที่ตกผลึกในจิตใจของผู้เรียน จะส่งผลให้ธรรมา-ภิบาลได้งอกงามในจิตใจของเขาในกาลต่อมา ทำให้คณะสงฆ์จึ่งมุ่งรับภาระนี้สืบเนื่องตลอดมา สมกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมอบภารธุระในการพระพุทธศาสนาไว้แก่คณะสงฆ์

         ปีการศึกษา ๒๕๕๒ พระสงฆ์ทั่วประเทศได้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังสติปัญญา และ งบประมาณ สอนธรรมศึกษาแก่พุทธศาสนิกชนรวมทั้งสิ้น ๑,๙๐๖,๘๗๓ คน และมหาเถรสมาคมได้กำหนดให้มีการจัดสอบความรู้ธรรมศึกษาพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ และสอบความรู้นักธรรมชั้นโท – เอกในวันที่ ๔ – ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

         ระยะเวลานั้น ตรงกับกาลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกจากโรงพยาบาลศิริราช มาประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

         เหตุนี้ จึงขอเชิญชวนภิกษุสามเณรผู้เข้าสอบนักธรรมชั้นโท – เอก จำนวน ๑๗๗,๒๔๘ รูป นักเรียนสอบธรรมศึกษา ๑,๙๐๖,๘๗๓ คน รวมทั้งสิ้น ๒,๐๘๔,๑๒๑ รูป / คน ตลอดถึงพระเถรานุเถระ และพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า ได้ร่วมกันสามัคคีตั้งสัตยาธิษฐาน ขอผลานิสงส์อันตนได้บำเพ็ญในการสอบธรรมครั้งนี้ จงร้อยรวมเป็นพระราชกุศลที่อำนวยศุภอรรถมนุญผล ดลบันดาลให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระราชสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลพระชนมสุขทุกประการ และให้ทรงถึงความสมพระราชปรารถนาโดยทุกประการ ตลอดกาลเป็นนิตย์เทอญ.

         นี่ จักทำให้เกิดความภาคภูมิใจเป็นเบื้องต้นว่า เราเป็นผู้มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเราจักทำหน้าที่ของตนด้วยพุทธธรรมที่ได้ศึกษามา เพื่อให้เกิดสุขประโยชน์ในการดำเนินชีวิต อันส่งผลเป็นสามัคคีธรรม ที่อำนวยผลให้ประเทศไทยมีความวัฒนาสถาพรสืบไป เมื่อรำลึกเหตุการณ์ครั้งนี้ถึงคราใด ก็จักรู้สึกว่า เราเป็น ๑ ใน สองล้านรูป/คน ที่สอบธรรมเพื่อในหลวง

         นี่ละ งานธรรมศึกษา....งานเล็กๆ ที่พระทำ.....แต่เป็นงานใหญ่ของสังคม ที่จะมีผลมหาศาลต่อความวัฒนาสถาพรของประเทศไทยตลอดไป

๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๒
เวลา ๐๑.๐๕ น.







         การสอบธรรมสนามหลวง ปีการศึกษา ๒๕๕๒ ใช้สนามสอบทั่วประเทศ ๓,๗๘๕ สนาม ซึ่งใช้โรงเรียนเป็นสนามสอบ ๒,๔๔๓ แห่ง วัด ๑,๑๒๙ แห่ง กรมราชทัณฑ์ ๑๓๔ แห่ง สถาบันอุดมศึกษา ๔๑ แห่ง สถาบันอาชีวศึกษา ๓๓ แห่ง และสถาบันเอกชน ๕ แห่ง.
คะแนน
สามารถให้คะแนนได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น.

โปรดเข้าสู่ระบบก่อนการให้คะแนน.

ยังไม่มีการให้คะแนน.
แสดงผลในเวลา: 0.01 วินาที 118,182,400 ผู้เยี่ยมชม