พระชาติประวัติโดยสังเขป
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
พระประวัติเบื้องต้น
          ประสูติเมื่อวันพฤหัสสบดีที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๐๓ (ร.ศ.๗๙)
          เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์ที่ ๔๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาแพ
การศึกษาในเบื้องต้น

          ทรงศึกษาอักขรสมัยเบื้องต้นในสำนักของท่านนก ธิดาพระศรีวิโรจน์
          พระชนมายุ ๘ พรรษา ทรงศึกษาอักษรขอม ภาษาบาลี และแปลธัมมปทัฏฐกถาจนถึงบั้นปลายกับพระยาปริยัติธรรมธาดา(เปี่ยม)
          ทรงศึกษาวิชาเลข ในสำนักพระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดาพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
          พระชนมายุ ๑๒ พรรษา ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ โดยมีนายฟรานซิส ยอช แปตเตอสัน เป็นพระอาจารย์

ลำดับเรื่องที่สำคัญต่าง ๆ

          พ.ศ. ๒๔๑๖ พระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็น เวลา ๗๘ วัน จึงทรงลาผนวช
          พ.ศ.๒๔๒๐ พระชนมายุ ๑๘ พรรษา ทรงรับราชการประจำในกรมราชเลขา ตำแหน่งเจ้าพนักงาน สารบบฎีกาหรือราชเลขานุการในทางอรรถคดี มีหน้าที่รวบรวมยอดอรรถคดีต่างๆทรงรับราชการอยู่ ๒ ปีเต็ม โดยมิได้รับพระราชทานเงินเดือน แต่เพิ่มเงินปีขึ้นอีก ๕ ชั่ง เป็นปีละ ๑๒ ชั่ง
          พ.ศ. ๒๔๒๒ พระชนมายุ ๒๐ พรรษาบริบูรณ์ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระจันทรโคจรคุณ (จนฺทรํสี ยิ้ม) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
          พ.ศ. ๒๔๒๔ พระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมสนามหลวง ณ วัดพระศรีรัตน ศาสดาราม ได้ ๕ ประโยค
          พ.ศ. ๒๔๒๔ พระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา ทรงรับพระสมณศักดิ์ สถาปนาเลื่อนตำแหน่งพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
          พ.ศ. ๒๔๔๙ พระชนมายุ ๔๗ พรรษา ทรงรับสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส

          พ.ศ.๒๔๕๓ พระชนมายุ ๕๑ พรรษา ทรงได้รับมหาสมณุตตมาภิเษก คือทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (นับเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) แต่โดยที่พระองค์ทรงเป็นเจ้านายชั้นสูง จึงเปลี่ยนเรียกเป็นพิเศษว่า " สมเด็จพระมหาสมณะ " และทรง ได้รับ สถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
          พ.ศ. ๒๔๖๔ พระชนมายุ ๖๒ พรรษา ทรงรับสถาปยนาเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
พระกรณียกิจ
          พ.ศ. ๒๔๔๔ พระชนมายุ ๒๒ พรรษา ทรงเป็นแม่กองกลาง
ด้านการศึกษา
          สอบไล่พระปริยัติธรรมสนามหลวง ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
          พ.ศ.๒๔๓๖ พระชนมายุ ๓๔ พรรษา ทรงจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถานศึกษาวิชาการแบบ ใหม่สำหรับคณะสงฆ์ธรรมยุต และกุลบุตรทั่วไป ตามพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
          พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงจัดการออกหนังสือธรรมจักษุ เป็นหนังสือนิตยสารเผยแพร่ธรรม เพื่อเป็นของสมนา คุณแก่ผู้บำรุงมหามกุฏราชวิทยาลัย
          พ.ศ. ๒๔๔๑ พระชนมายุ ๓๙ พรรษา ทรงรับภาระอำนวยการศึกษาของกุลบุตรในหัวเมือทั่วพระราช อาณาจักร ถึง พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็นเหตุให้มีโรงเรียนประถมและมัธยมสำหรับกุลบุตรในหัวเมืองในลำดับมา ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
          พ.ศ. ๒๔๔๕ พระชนมายุ ๔๓ ทรงจัดให้มีการสอบความรู้นักธรรมขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๕๔ เรียกว่า "องค์ของสามรเณรผู้รู้ธรรม" เพื่อเป็นหลักเกณฑ์สำหรับสามเณรผู้ควรได้รับการยกเว้นการถูก เรียกเป็นทหารตามพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔ ซึ่งต่อมาเรียกว่า "นักธรรม" มี ๓ ชั้นคื นักธรรม ชั้นตรี นักธรรมชั้นโท และนักธรรมชั้นเอก อันเป็นการศึกษาขั้นมูลฐานของพระภิกษุสามเณรในประเทศไทย อยู่ปัจจุบันนี้ และต่อมาได้ขยายออกไปถึงคฤหัสถ์ เรียกว่า ธรรศึกษาตรี-โท-เอก
          พ.ศ.๒๔๕๖ พระชนมายุ ๕๔ พรรษา ทรงรวมความรู้องค์นักธรรมประโยค ๑-๒ เข้าเป็น "นักธรรมชั้นตรี" และสอบสนามหลวง ณ วัดเบญจมบพิตร เป็นครั้งแรก
          พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงแก้ไขการสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวง จากการแปลปาก เป็นแปลด้วยวิธีเขียน
          พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรบาลีประโยค๕-๖
          พ.ศ. ๒๔๕๗ พระชนมายุ ๕๕ พรรษา ทรงขยายการสอบความรู้องค์นักธรรมไปหัวเมือง
          พ.ศ. ๒๔๕๙ พระชนมายุ ๕๗ พรรษา ทรงประกาศตั้งหลักสูตร "นักธรรมชั้นโท"และมีการสอบเป็น ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐
          พ.ศ. ๒๔๖๐ ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรบาลีประโยค ๗-๘-๙
          หมายเหตุ สำหรับการศึกษาด้านภาษาบาลี ได้ทรงปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆเป็นระยะๆเป็นการทดลอง เมื่อทรงเห็นว่าได้ผลเป็นอย่างดีแล้ว จึงทรงประกาศใช้เป็นทางราชการ
ด้านการปกครอง
          พ.ศ. ๒๔๒๔ พระชนมายุ ๒๒ พรรษา ทรงเป็นคณะสงฆ์ เจ้าคณะรองคณะธรรมยุติกนิกาย
          พ.ศ. ๒๔๓๖ พระชนมายุ ๓๔ พรรษา ทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติกนิกาย และเจ้าอาวาส วัดบวรนิเวศวิหาร สืบต่อจากพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
          พ.ศ. ๒๔๔๒ พระชนมายุ ๔๐ พรรษา ทรงรับศาสนภาระในฐานะ สมเด็จพระสังฆราช สืบต่อจาก สมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว สา) ซึ่งสิ้นพระชนม์ในศกนั้น (ในรัชกาลที่ ๕ มิได้ทรงสถาปนาสมเด็จ พระสังฆราชขึ้นอีกตลอดรัชกาล) ได้ทรงปฏิบัติศาสนกิจเพื่อประโยชน์แก่สังฆมณฑลทั้งสิ้น
          พ.ศ. ๒๔๔๕ พระชนมายุ ๔๓ พรรษา ทรงจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้เข้าระเบียบ ตามพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ซึ่งเป็นงานสืบเนื่องมาจากทรงจัดการศึกษาในหัวเมือง โดยจัดให้มีมหาเถรสมาคม และเจ้าคณะ บังคับบัญชากันตามลำดับชั้น เนื่องในการปกครองคณะสงฆ์ตาม พระราชบัญญัติฯ ร.ศ.๑๒๑ นี้ พระองค์ทรงบำเพ็ญพระกรณียะ คือ-
          ประทับเป็นองค์ประธานในที่ประชุมเถรสมาคมทั้งสองนิกาย
          ทรงปรึกษาและแนะนำในวิธีการปกครองคณะสงฆ์
          ทรงวางแผนในการบริหารคณะสงฆ์
          ทรงออกพระมหาสมณาณัติ บังคับบัญชา ทรงเลือกและแต่งตั้งพระเถระผู้ดำรงตำแหน่งทางการคณะสงฆ์
          ประทานพระมหาสมณวินิจฉัยในอธิกรณ์ ปัญหาทางพระวินัย ทางการปกครองคณะสงฆ์ และการพระ ศาสนาทั่วไป
          พ.ศ. ๒๔๕๓ พระชนมายุ ๕๑ พรรษา ทรงรับมหาสมณุตมาภิเษก เป็นองค์สกลมหาสังฆปริณายก ทรงปกครองคณะสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักร โดยเรียกคำนำหน้าว่า "สมเด็จพระมหาสมณะ" แทน "สมเด็จ พระสังฆราช"
          พ.ศ. ๒๔๕๕ พระชนมายุ ๕๓ พรรษา เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ มณฑลปักษ์ใต้ ๗ จังหวัด คือ ประจวบคีรีขันธ์,ชุมพร,สุราษฎร์ธานี,นครศรีธรรมราช,สงขลา,พัทลุง,และตรัง
          พ.ศ. ๒๔๕๖ พระชนมายุ ๕๔ พรรษา เสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลฝ่ายเหนือ ๙ จังหวัด คือ นครสวรรค์,กำแพงเพชร,ตาก,อุทัยธานี,ชัยนาท,สิงห์บุรี,อ่างทอง,อยุธยา,และปทุมธานี
          พ.ศ.๒๔๕๖ ทรงจัดการให้ออกหนังสือแถลงการณ์คณะสงฆ์สำหรับแถลงข่าวและประกาศต่างๆของ ทางการคณะสงฆ์ ลักษณะคล้ายกับหนังสือราชกิจจานุเบกษาของทางราชการ และยังคงเป็นหนังสือ สำคัญของคณะสงฆ์มาจนปัจจุบันนี้
          พ.ศ.๒๔๕๗ พระชนมายุ ๕๕ พรรษา เสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลฝ่ายเหนืออีก ๖ จังหวัด คือ พิษณุโลก,อุตรดิตถ์,แพร่,สุโขทัย,พิจิตร,นครสวรรค์
          พ.ศ. ๒๔๕๗ เสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลกรุงเก่า ๖ จังหวัด คือ ลพบุรี,สระบุรี,อยุธยา,อ่างทอง, ปทุมธานี,และนนทบุรี
          พ.ศ. ๒๔๕๘ พระชนมายุ ๕๖ พรรษา เสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลราชบุรี ๕ จังหวัดคือ สมุทรสงคราม,ราชบุรี,กาญจนบุรี,เพชรบุรี,และประจวบคีรีขันธ์
          พ.ศ. ๒๔๕๙ พระชนมายุ ๕๗ พรรษา เสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลปราจีนบุรี ๖ จังหวัด คือ ปทุมธานี,นครนายก,ปราจีนบุรี,ฉะเชิงเทรา,ชลบุรี และสมุทรปราการ
          พ.ศ. ๒๔๕๙ เสด็จตรวจการคณะสงฆ์จังหวัดสุพรรณบุรี โดยผ่านจังหวัดต่างๆ คือ นครปฐม,สุพรรณบุรี ชัยนาท,สิงห์บุรี,และลพบุรี
          พ.ศ. ๒๔๖๐ พระชนมายุ ๕๘ พรรษา เสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลพิษณุโลก ๔ จังหวัด คือ พิจิตร, สุโขทัย,อุตรดิตถ์และพิษณุโลก
งานพระราชนิพนธ์
          ประเภทหลักสูตร
                    หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี ๘ เล่ม
                    หลักสูตรนักธรรมชั้นโท ๖ เล่ม
                    หลักสูตรนักธรรมชั้นเอก ๗ เล่ม
                    หลักสูตรบาลีไวยากรณ์ ๖ เล่ม
          ประเภททั่วไป
                    พระธรรมเทศนา ๘๐ กัณฑ์
                    ทรงแปลพระสูตรต่างๆ ๔๗ สูตร
                    วรรณา (อธิบาย) พระสูตร ๒๕ เรื่อง
                    พระโอวาทและธรรมคดี ๗๐ เรื่อง
                    พระนิพนธ์ภาษาบาลี ๑๕ เรื่อง
          งานด้านทรงชำระ
                    ทรงชำระพระไตรปิฎก ๑๐ เล่ม
          คัมภีร์และปกรณ์ต่าง ๆ
                    หลักสูตรบาลีประโยค ๓ ธัมมปทัฏฐกถา ๘ เล่ม
                    หลักสูตรบาลีประโยค ๔ มังคลัตถทีปนี ภาค ๑ ๑ เล่ม
                    หลักสูตรบาลีประโยค ๕ มังคลัตถทีปนี ภาค ๒ ๑ เล่ม
                    หลักสูตรบาลีประโยค ๖ สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ ๑ เล่ม
                    หลักสูตรบาลีประโยค ๗ สมันตปาสาทิกา ภาค ๑,๒ ๒ เล่ม
          รวมงานพระนิพนธ์และทรงชำระมากกว่า ๓๐๐ เรื่อง
พระกรณียะพิเศษ
          ทรงเป็นพระราชอุปัชฌาย์ ของ พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์ คือ
           - พระบาทสมเด็จพระมงกุฏ เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗
           - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐
          ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของสมเด็จเจ้าฟ้า และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า และพระเจ้าลูกยาเธอ ใน รัชกาลที่ ๕ อีกหลายพระองค์
อวสานกาล
          สิ้นพระชนม์
          - เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ณ พระตำหนักเดิม วัดบวรนิเวศวิหาร พระชนมายุได้ ๖๒ พรรษา
          - ทรงเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า องค์สกลมหาสังฆปริณายก ๑๒ ปี
          - ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร ๒๘ ป
สถิติผู้คลิกเปิดเข้าชมหน้านี้
จำนวนการคลิกเปิด 18484 ครั้ง