นักธรรม (สำหรับ พระภิกษุ-สามเณร เท่านั้น)
ไม่ใช่พระภิกษุ-สามเณร
โปรดคลิกที่ ธรรมศึกษา
ธรรมศึกษา (แม่ชี, อุบาสก, อุบาสิกา, นักเรียน, นักศึกษา และคฤหัสถ์ผู้สนใจทั่วไป)
สืบค้นโดยหมายเลขประกาศนียบัตร
(ที่พิมพ์อยู่ด้านซ้ายบนประกาศนียัตร)
วิธีใช้ระบบสืบค้นรายชื่อผู้สอบประโยคนักธรรม-ธรรมศึกษาได้
ทำความเข้าใจประเภท นักธรรม และ ธรรมศึกษา
- นักธรรม สำหรับ พระภิกษุ-สามเณร เท่านั้น
- ธรรมศึกษา สำหรับ แม่ชี, นักเรียน, นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป
กำหนดเงื่อนไขสำหรับการสืบค้น (นักธรรม หรือธรรมศึกษา)
- ปีการศึกษา ปีการศึกษาที่สอบได้
- ชั้น ชั้นที่สอบได้
- นิกาย เลือก มหานิกาย หรือ ธรรมยุต (เฉพาะส่วนภูมิภาค กรุงเทพเลือกอะไรก็ได้ผลสืบค้นเหมือนกัน)
- สำนักเรียน/จังหวัด ชื่อสำนักเรียน สำหรับส่วนกลาง และ ชื่อจังหวัด
สำหรับส่วนภูมิภาค
- พิมพ์เฉพาะส่วนต้นได้ เช่น นครราช จะได้ นครราชสีมา
- สามารถปล่อยว่างได้ (ว่างหมายถึงสืบค้นโดยเงื่อนไขอื่น ๆ แต่จะสืบเฉพาะในส่วนกลางเท่านั้น)
-
ชื่อ ชื่อที่ต้องการสืบค้น
- ห้ามรวมคำนำหน้ากับชื่อ เช่น นายกมล ให้พิมพ์เพียง กมล เท่านั้น
- พิมพ์เฉพาะส่วนต้นได้ เช่น กมล จะได้ผลลัพธ์ของผู้สอบได้ที่ชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า กมล (กมล, กมลชนก, กมลฉัตร, ฯลฯ)
- สามารถปล่อยว่างได้
-
นามสกุล นามสกุลที่ต้องการสืบค้น
- พิมพ์เฉพาะส่วนต้นได้ เช่นเดียวกับช่องอื่น ๆ ด้านบน
- กรณีไม่มีชื่อสกุล ให้ใช้เครื่องหมาย -
- สามารถปล่อยว่างได้
-
ฉายา (เฉพาะ แผนกนักธรรม) ฉายาที่ต้องการสืบค้น
- ห้ามพิมพ์ ฐ หรือ ญ แบบบาลี ให้พิมพ์แบบปกติ
- มีได้เฉพาะพระภิกษุเท่านั้น สามเณรไม่มีการบันทึกฉายาในฐานข้อมูล
- พิมพ์เฉพาะส่วนต้นได้ เช่นเดียวกับช่องอื่น ๆ ด้านบน
- สามารถปล่อยว่างได้
-
สังกัดวัด ชื่อวัดที่ดำเนินการสอน/ดูแล
- พิมพ์เฉพาะส่วนต้นได้ เช่นเดียวกับช่องอื่น ๆ ด้านบน
- สามารถปล่อยว่างได้
- องค์กร/สถานศึกษา องค์กร/วัด/สถานศึกษาที่เรียน/สอบ
- พิมพ์เฉพาะส่วนต้นได้ เช่นเดียวกับช่องอื่น ๆ ด้านบน
- สามารถปล่อยว่างได้
วิธีใช้ระบบสืบค้นโดยเลขประกาศนียบัตร (ใช้ได้ทั้งนักธรรมหรือธรรมศึกษา)
- ทำความเข้าใจรูปแบบ ปกศ.
- เลขประกาศนียบัตร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นมา ใช้รูปแบบดังนี้ คือ
- หลักที่ ๑ และ ๒ เป็น อักษรย่อของชื่อจังหวัดตามที่ใช้ในระบบราชการ
- หลักที่ ๓ เป็นเคาะวรรค ๑ เคาะ
- หลักที่ ๔ เป็น หน
ตามระบบการปกครองคณะสงฆ์ไทย ดังนี้คือ
- กรุงเทพมหานคร (มหานิกาย) แทนด้วยเลข ๑
- หนกลาง (มหานิกาย) แทนด้วยเลข ๒
- หนเหนือ (มหานิกาย) แทนด้วยเลข ๓
- หนตะวันออก (มหานิกาย) แทนด้วยเลข ๔
- หนใต้ (มหานิกาย) แทนด้วยเลข ๕
- ธรรมยุตทั่วประเทศ แทนด้วยเลข ๖
- หลักที่ ๕ เป็นประเภทและชั้น ดังนี้คือ
- นักธรรมชั้นตรี แทนด้วยเลข ๑
- นักธรรมชั้นโท แทนด้วยเลข ๒
- นักธรรมชั้นเอก แทนด้วยเลข ๓
- ธรรมศึกษาชั้นตรี แทนด้วยเลข ๔
- ธรรมศึกษาชั้นโท แทนด้วยเลข ๕
- ธรรมศึกษาชั้นเอก แทนด้วยเลข ๖
- หลักที่ ๖ และ ๗ เป็น ๒ หลักสุดท้ายของพุทธศักราชปีที่สอบได้
- หลักที่ ๘ เป็นเครื่องหมาย ทับ /
- หลักที่ ๙-๑๒ หรือ ๙-๑๓ เป็นลำดับที่สอบได้ในจังหวัดนั้น ๆ
- จำนวนผู้สอบได้ไม่ถึง ๑๐,๐๐๐ จะมี ๐ นำหน้า ๓ ตัวอย่างมาก เช่น ๐๐๐๑ รวมความยาวทั้งหมดเป็น ๑๒ ตัวอักษร
- จำนวนผู้สอบได้เกิน ๑๐,๐๐๐ จะมี ๐ นำหน้า ๔ ตัวอย่างมาก เช่น ๐๐๐๐๑ รวมความยาวทั้งหมดเป็น ๑๓ ตัวอักษร
- ตัวอย่างเลขประกาศนียบัตรและความหมาย
- กท ๑๑๕๗/๐๐๐๐๑ สอบนักธรรมชั้นตรี ได้ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ใน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นผู้สอบได้ลำดับที่ ๑ ของจังหวัด (มีจำนวนผู้สอบได้เกิน ๑๐,๐๐๐ รูป)
- กท ๖๕๕๗/๐๕๓๔ สอบธรรมศึกษาชั้นโท ได้ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดการปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุต ใน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นผู้สอบได้ลำดับที่ ๕๓๔ ของจังหวัด (มีจำนวนผู้สอบได้ไม่ถึง ๑๐,๐๐๐ คน)
- เลขประกาศนียบัตร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นมา ใช้รูปแบบดังนี้ คือ
- เหมาะสำหรับสำนักแม่กองบาลีสนามหลวง เพื่อคัดลอกเลขประกาศนียบัตรจากบัญชีรายชื่อผู้ขอเข้าสอบความรู้ประโยคบาลี และนำมาวางในแบบฟอร์มเพื่อค้นหาทีเดียวหลาย ๆ เลขพร้อม ๆ กัน โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ระบบจะทำการสืบค้นเลขประกาศนียบัตรในฐานข้อมูลรายชื่อผู้สอบประโยคนักธรรม-ธรรมศึกษาได้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓-ปัจจุบัน อัตโนมัติ และแสดงข้อมูลตามเลขประกาศนียบัตร
- สามารถพิมพ์เลขอารบิกได้ เช่น กท 1457/10057 ระบบจะทำการแปลงเป็นเลขไทยอัตโนมัติก่อนนำไปสืบค้น
- หากพิมพ์มากกว่า ๑ รายการให้คั่นด้วยเครื่องหมายจุฬภาค (,) หรือขึ้นบรรทัดใหม่
- ณ วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๕ มีรายชื่อผู้สอบได้ในฐานข้อมูล ๑๗,๗๗๐,๐๓๔ รูป/คน
พบปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการเสนอแนะ โปรดติดต่อ:
[email protected], [email protected]