หน้าแรก
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
รับข้อสอบ ๑
รับข้อสอบ ๒
รับข้อสอบ ๓
ระบบสมัครสอบ
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
November 21 2024 16:07:48
เมนู
หน้าแรก
ใบคำร้องฯ
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๔
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี ประถม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี มัธยม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี อุดม
รับข้อสอบ ๑
รับข้อสอบ ๒
รับข้อสอบ ๓
ทดสอบสอบความรู้จากข้อสอบธรรมศึกษา 2543-2562
eLearning ธรรมศึกษา
วีดิโอสอนธรรมศึกษา
ระเบียบการจัดสอบ ๒๕๖๐
กระดาษเขียนกระทู้ธรรม ธศ.
สมุดลงนามฯ (สมุดเยี่ยม)
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
บัญชีบรรจุใบตอบปรนัย
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ นธ.
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ ธศ.
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน (แบบใหม่ ๒๕๖๑)
วิธีระบายเลขที่สอบ (ธรรมศึกษา)
นักธรรม (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
นักธรรม (ฟอร์มขอแก้ไข)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มขอแก้ไข)
ดาวน์โหลด
ปัญหา-เฉลย นักธรรม ๖๔
ปัญหา-เฉลย น.ธ.-ธ.ศ. ๖๕
สถิติสอบธรรม ๒๕๖๒
อันดับสำนักเรียนสอบได้มาก
ประวัตินักธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทำเนียบแม่กองธรรม
ทำเนียบผู้บริหารปัจจุบัน
แม่กองธรรมสนามหลวง
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
หนังสือประกอบหลักสูตร
ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา
ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
กฏกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๘
การขอใบรับรอง
ห้องแสดงภาพ
ห้องสนทนา
บทความ
เว็บลิงค์
คำถามยอดนิยม
ค้นหา
ส่งบทความ
ปฏิทินกิจกรรม
วิดีโอแกลอรี่
เพิ่มวิดีโอ
วีดีทัศน์เกี่ยวกับสอบธรรม 2553
ผู้มีสิทธิสอบ
ฝ่ายธุรการ
รายชื่อรัฐของสหรัฐอเมริกา
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
ติดต่อสำนักเรียน
ทั่วประเทศ
ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค (ม)
ส่วนภูมิภาค (ธ)
เจ้าคณะตำบล-อำเภอ-จังหวัด
วัดทั่วประเทศ
สถานศึกษาทั่วประเทศ
สนามสอบทั่วประเทศ
สนามสอบนักธรรม ส่วนกลาง
ระเบียบปฏิบัติ
MOU ธรรมศึกษา
คำปราศรัยฯ นธ.ตรี
คำปราศรัยฯ นธ.โท-เอก
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน
คำอธิบายการฝนใบคำตอบ
ระเบียบการจัดสอบ
กำหนดวันสอบ ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนภูมิภาค ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ภาคผนวก ๒๕๖๗
เล่มสนามสอบ สมัยที่ ๒
วิธีการตรวจข้อสอบนักธรรม
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
สนามหลวง แผนกบาลี
ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย
ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
หัวข้อแนะนำ
ดูสถิติการเข้าชมเว็บของคุณ
Youtube Gallery
วิดีโอทั้งหมด
(11)
พระประวัติ และ ประวัติ
(3)
การศึกษาของสงฆ์ไทย
(1)
พิธีเปิดสอบธรรม พ.ศ. 2553
(0)
คู่มือ-เทคนิค-วิธีการ
(7)
วิดีโอล่าสุด
สนง.พระพุทธศาสนาฯ
เลือก
เลือก
เลือก
เลือก
เลือก
เลือก
ชวนเพื่อนมาชมเว็บนี้
อีเมล์คุณ:
ส่งถึงเพื่อน:
คัดลอกสำเนา?
ตำนานการแปลพระปริยัติธรรม ในรัชกาลที่ ๕
ตำนานการแปลพระปริยัติธรรม ในรัชกาลที่ ๕
ก่อนที่จะกล่าวถึงการแปลพระปริยัติธรรมในมหามกุฎราชวิทยาลัย จะต้องอธิบายถึงวิธีแปลพระปริยัติธรรมตามแบบเก่าเสียก่อน เพื่อจะได้ทราบลักษณะการว่าวิธีแปลพระปริยัติธรรมตามแบบเก่า กับวิธีแปลพระปริยัติธรรมในมหามกุฎราชวิทยาลัยผิดกันอย่างไร วิธีแปลพระปริยัติธรรมตามแบบเก่าในตอนต้นรัชกาลที่ ๕ เป็นมาดังนี้
ครั้งที่ ๑ แปลพระปริยัติธรรมที่พระมหาปราสาท เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ ชั้นนักเรียนที่แปลธรรมบทกำหนดให้แปลหนังสือ ๓ ลาน คือ ๓๐ บรรทัด ชั้นนักเรียนที่แปลประโยคสูงตั้งแต่ประโยค ๔ ขึ้นไปแปล ๒ ลาน คือ ๒๐ บรรทัด ประโยค ๙ คงแปล ๑๐ บรรทัดตามเดิม กำหนดนักเรียนที่เข้าแปลวันละ ๕ รูป ลงมือแปลแต่เวลาราวบ่าย ๑๕.๐๐ นาฬิกาไปจนเวลามืดก็จุดเทียนสัญญาณที่ตั้งไว้ในสนาม พอเทียนหมดเป็นเลิกการสอบพระปริยัติธรรมในวันนั้น ถ้ายังมีพระภิกษุสามเณรแปลค้างอยู่กี่รูปก็ตกหมด วิธีแปลพระปริยัติธรรมตามแบบเดิมนี้ เฉพาะนักเรียนที่แปลชั้นธรรมบทมีความลำบากอยู่อย่างหนึ่ง คือถ้าแปลได้ประโยค ๑ ตกประโยค ๒ หรือแปลประโยค ๒ ได้ ตกประโยค ๓ ถึงคราวหน้าต้องตั้งต้นแปลประโยค ๑ ไปใหม่ ต้องแปลให้ได้ ๓ ประโยคในคราวเดียว จึงนับเป็นได้เป็นดังนี้ ตลอดมาจนถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ แปลพระปริยัติธรรมที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ ครั้งที่ ๑๑ จึงยอมให้แปลประโยคไหนได้แล้วก็เป็นได้ ไว้ตามมหามกุฎราชวิทยาลัย ถึงคราวหน้าก็แปลต่อประโยคที่ได้ไว้แล้วทีเดียว วิธีนี้ใช้มาจนสิ้นรัชกาลที่ ๕
คราวที่ ๒ แปลพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙ คราวนี้ชั้นนักเรียนที่แปลธรรมบทลดหนังสือลง ๑๐ บรรทัด คงให้แปลแต่ ๒๐ บรรทัด เป็นจบประโยค ด้วยเห็นว่าแปลทางบรรทัดนั้นยาวนัก ถ้าสอบอย่างกวดขันนักเรียนไม่ใคร่สามารถจะแปลให้จบประโยคได้ทันกำหนดเวลา
คราวที่ ๓ แปลพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ เมื่อปีมะเมียพ.ศ. ๒๔๒๕ คราวนี้กำหนดเวลาในตอนต้นๆ ยังใช้เทียนสัญญาณตามแบบเดิม แต่ตกมาในตอนปลายเปลี่ยนเป็นใช้นาฬิกาแทน เห็นจะเป็นเพราะเหตุที่ใช้เทียนสัญญาณนั้น มักเกิดลำบากแก่ผู้แปลและผู้ไล่เนืองๆ ที่ลำบากแก่ผู้แปลนั้น คือในวันที่มีพระภิกษุสามเณรแปลค้างอยู่จนค่ำหลายรูปด้วยกัน บางรูปจวนจบประโยค แต่บางรูปแปลหนังสือไปได้น้อย รูปที่ยังแปลได้น้อยก็ตั้งหน้าพยายามจะแปลให้จบประโยคก่อนเทียนหมด ฝ่ายรูปที่แปลได้มากก็ไม่มีโอกาสจะเข้าไปแปลได้ จนเทียนหมดก็พากันตกทั้งหมด ดังนี้มีเนืองๆ ผู้แปลต้องผ่อนผันกันเอง บางทีถ้าเกิดคั่งกันเช่นว่า นักเรียนที่ใจอารีต้องยอมหนีเสีย ให้เพื่อนกันได้โอกาสจึงแปลได้จบประโยค
แต่บางทีก็เกิดลำบากตรงกันข้าม เช่นวันใดนักเรียนที่เข้าแปล แปลจบไปเสียบ้าง หนีไปเสียบ้าง เหลืออยู่จนเวลาค่ำแต่ผู้ที่แปลปลกเปลี้ยรูปเดียว จะแปลให้จบก็ติดแปลไปไม่ได้ จะออกแก้ไขตริตรองก็ไม่ได้ด้วยไม่มีตัวเปลี่ยน ถ้าผู้แปลไม่หนี ผู้ไล่ก็เลิกไม่ได้ ด้วยเทียนยังไม่หมด บางทีในวันนั้นต้องเสียเวลาเปล่านานๆ ทีเดียว จึงเลิกวิธีใช้เทียนสัญญาณ เปลี่ยนเป็นใช้นาฬิกาแทน กำหนดเวลาให้แก่นักเรียนแปลพระธรรมบทรูปละ ๙๐ นาทีเสมอกันทุกรูป แต่บางครามกรรมการเห็นว่าหนังสือที่แปลนั้นยาก เพิ่มเวลาให้อีก ๓๐ นาทีเป็นพิเศษก็มีบ้าง
คราวที่ ๔ แปลพระปริยัติธรรมที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙ คราวนี้ชั้นนักเรียนที่แปลธรรมบทแยกเป็น ๒ กอง เรียกว่า กองขวากอง ๑ กองซ้ายกอง ๑ ผู้แปลต้องจับฉลากกอง แต่จับฉลากเมื่อแปลประโยค ๑ คราวเดียว ประโยค ๒ – ๓ ก็เวียนไปไม่ต้องจับ คือ ถ้าประโยค ๑ ถูกกองขวา ประโยค ๒ ก็ต้องเวียนไปกองซ้าย ประโยค ๓ กลับมาแปลกองขวาอีก ต่อถึงตอนแปลประโยคสูงตั้งแต่ ๔ ขึ้นไป จึงรวมเป็นกองเดียวตามแบบเดิม
คราวที่ ๕ แปลพระปริยัติธรรมที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ คราวนี้เพิ่มนักเรียนชั้นแปลธรรมบทขึ้นอีกวันละ ๓ รูป แบ่งแปลในกองขาว ๔ รูป กองซ้าย ๔ รูป คงจับฉลากกองอย่างคราวที่ ๔ ต่อประโยค ๔ ขึ้นไปจึงรวมเป็นกองเดียว แปลวัน ๕ รูปตามเดิม
วิธีแปลพระปริยัติธรรมในตอนต้นรัชกาลที่ ๕ ก่อนตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัยรวม ๕ คราว เป็นดังกล่าวมานี้
ครั้นถึงปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสถานที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายขึ้นที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระราชทานนามศึกษาสถานนั้นว่า “มหามกุฎราชวิทยาลัย” ทรงพระราชอุทิศในพระบรมนามาภิไธยแห่งสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นผู้ทรงประดิษฐานและทำนุบำรุงธรรมยุตินิกายมาแต่ก่อน มีคำปรารภการตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัย และการจัดระเบียบการศึกษา และระเบียบการสอบพระปริยัติธรรม พิมพ์ไว้ในหนังสือธรรมจักษุ ร.ศ. ๑๑๓ (พ.ศ. ๒๔๓๗) ซึ่งได้คัดมาลงไว้ดังต่อไป
การตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัย
พระพุทธศาสนาคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระบรมศาสดาของเราทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกแล้ว ทรงแนะนำสั่งสอนประชุมชนทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ให้ได้ดวงตาคือปัญญาเห็นสิ่งผิดสิ่งชอบแล้ว ปฏิบัติเว้นสิ่งที่ผิดเสีย ดำเนินในสิ่งที่ชอบด้วยกายวาจาใจ ได้บรรลุประโยชน์ทั้งสามคือประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ภายภาคหน้า ประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพานซึ่งเป็นที่ดับทุกข์ทั้งปวงแล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน ดุจดวงอาทิตย์อันอุทัยส่องโสลกให้ชัชวาลแล้วอัสดงคตแล้ว ฉะนั้น ช้านานประมาณได้ถึง ๒๔๓๗ ปีเศษแล้ว ยังได้นำสืบๆ กันมาจนถึงทุกวันนี้ แม้เราทั้งหลายที่เกิดในภายหลัง ยังได้ยินได้ศึกษาได้รู้ได้ปฏิบัติตาม ทราบความผิดและชอบ ก็เพราะท่านแต่ปางก่อนได้สั่งสอนกันเป็นลำดับสืบมา
จึงควรเห็นว่าการเล่าเรียนศึกษาพระคัมภีร์ เป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนา สามารถจะนำพระพุทธศาสนาให้เป็นไปนานได้ เมื่อยังมีผู้ศึกษาเข้าใจแล้วปฏิบัติตามอยู่เพียงใด พระพุทธศาสนาก็ยังเป็นอยู่เพียงนั้น แม้ถึงพระพุทธเจ้า เมื่อจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ก็ได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า อานนท์สักหน่อยท่านทั้งหลายจะคิดว่าศาสนามีพระศาสดาล่วงไปแล้ว บัดนี้พระศาสดาของเราทั้งหลายไม่มี ดังนี้ ข้อนี้ ท่านทั้งหลายไม่ควรเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่ท่านทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น เมื่อเราล่วงไปแล้ว จักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย ดังนี้ การเล่าเรียนคัมภีร์ของภิกษุสามเณรจึงเป็นธุระสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรจะทำนุบำรุงให้เจริญ
อีกประการหนึ่ง เหล่าชนที่นับถือพระพุทธศาสนา แม้ถึงมีมาก แต่จะหาผู้ที่เข้าใจชัดเจนในศาสนาที่ตนนับถืออยู่ได้โดยยากยิ่งนัก เพราะไม่ค่อยจะมีหนังสือแสดงคำสั่งสอน ซึ่งเป็นเครื่องจะชักนำให้เข้าใจชัดเจนดีเหมือนหนังสือสอนศาสนาอื่นๆ จะเข้าใจชัดเจนดีก็แต่ผู้ที่มีกำลังที่จะสะสมหนังสือไว้อ่านได้ กับคนที่ได้ไปมาหาสู่สนทนากับท่านผู้รู้และฟังธรรมเทศนาในวัดนั้นๆ คนสามัญนอกจากนี้ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจให้ชัดเจนได้ เป็นแต่นับถือไปตามกันเท่านั้น การแนะนำสั่งสอนประชุมชน ให้เข้าใจพุทธศาสนาชัดเจนจึงเป็นธุระสำคัญที่ควรจะเอาใจใส่
อีกประการหนึ่ง เป็นธรรมเนียมมาในประเทศของเราว่า วัดเป็นที่เล่าเรียนศึกษาวิชาหนังสือไทย และเลขของเด็กชาวเมืองทั้งหลาย บิดามารดาญาติผู้ใหญ่ของเด็ก เมื่อเห็นเด็กมีอายุสมควรเรียนหนังสือและเลขได้แล้ว ก็พาไปฝากพระในวัดนั้นๆ เพื่อให้ฝึกสอน แต่การฝึกสอนนั้น ต่างครูต่างอาจารย์กัน ถ้าครูที่เข้าใจในการฝึกสอนและเอาใจใส่ ทั้งเด็กก็เป็นเด็กฉลาดมีอุตสาหะก็เรียนรู้ได้ดี ถ้าครูไม่ฉลาดในการสอน หรือไม่เอาใจใส่ก็ดี เด็กเป็นคนโง่หรือเกียจคร้านก็ดี ก็รู้ไม่ได้ดี ข้อนี้ควรจัดการฝึกสอนเด็กชาวเมืองให้เป็นหลักฐาน เด็กทั้งหลายจะได้มีความรู้ดี ตามสมควรแก่ปัญญาและอุตสาหะของตน
เพื่อจะให้เป็นประโยชน์ทั้งสามที่กล่าวมานี้ สำเร็จบริบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นผู้บำรุงพระพุทธศาสนา ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายขึ้นที่วัดนิเวศวิหาร พระราชทานนามศึกษาสถานนั้นว่า มหามกุฎราชวิทยาลัย ทรงพระราชอุทิศในพระบรมนามาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าสยาม สมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐานและทำนุบำรุงธรรมยุติกนิกายมาแต่ก่อน และทรงบริจาคพระราชทานทรัพย์สำหรับบำรุงวิทยาลัยให้เป็นไปด้วย
พระเถระในธรรมยุติกนิกาย ได้เปิดมหามกุฎราชวิทยาลัย ให้เป็นที่ศึกษาของภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ซึ่งเป็นมหามงคลวารนับแต่กาลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบบรมขัติยราชสันตติวงศ์มาได้ ๒๕ ปีบริบูรณ์
เมื่อได้เปิดวิทยาลัยแล้วอย่างนี้ พระเถรานุเถระซึ่งเป็นผู้จัดการ ได้ดำริจะจัดการ ๓ ข้อข้างต้นนั้น โดยลำดับดังต่อไปนี้
๑. การเล่าเรียนของภิกษุสามเณรนั้น ประเพณีเดิมเคยเรียนมูลปกรณ์ก่อนแล้ว จึงเรียนอรรถกถาธรรมบท มังคลัตถทีปนี สารัตถสังคหะ เป็นต้น ถึงกำหนดสามปี มีการสอบพระปริยัติธรรมครั้ง ๑ บางคราวขัดข้อง ก็เลื่อนออกไปถึงหกปีครั้ง ๑ หนังสือสำหรับสอนนั้นมีสองอย่าง สำหรับฝ่ายไทยอย่าง ๑ สำหรับฝ่ายรามัญอย่าง ๑ สำหรับฝ่ายไทยนั้นจัดเป็น ๙ ชั้น อรรถกถาธรรมบทแบ่งเป็นสามชั้น คือชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๓ มังคลัถทีปนีบั้นต้นชั้นที่ ๔ สารัตถสังคหะชั้นที่ ๕ มังคลัตถทีปนีบั้นปลายชั้นที่ ๖ ปฐมสมันปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยชั้นที่ ๗ วิสุทธิมรรคชั้นที่ ๘ สารัตถทีปนีฎีกาพระวินัยชั้นที่ ๙
ภิกษุสามเณรผู้จะสอบความรู้ จับประโยคแล้ว รับหนังสือตามประโยคมาดูเสร็จแล้ว เข้าไปแปลในที่ประชุมพระราชาคณะด้วยปากตามเวลาที่กำหนดให้ ถ้าแปลได้ตลอดประโยคในเวลาที่กำหนดไว้นั้นจัดเป็นได้ ถ้าครบกำหนดเวลาแล้ว ยังแปลไม่ตลอดประโยคจัดเป็นตก ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ชั้นที่สามขึ้นไปนับว่าเป็นเปรียญ แม้สอบชั้นที่ ๑ ที่ ๒ ได้แล้ว ถ้าตกชั้นที่สามก็นับว่าตก ถึงคราวหน้าจะเข้าแปลใหม่ ต้องแลตั้งแต่ชั้นที่ ๑ไปอีก
ฝ่ายรามัญนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น บาลีมหาวิภังค์คือ อาทิกรรม หรือปาจิตตีย์ อย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะเลือก เป็นชั้นที่ ๑ บาลีมหาวรรค หรือจุลวรรค อย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะเลือก เป็นชั้นที่ ๒ บาลีมุตวินับวินิจฉัยเป็นชั้นที่ ๓ ปฐมสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัยเป็นชั้นที่ ๔ แปลเป็นภาษารามัญ แต่ต้องบอกสัมพันธ์ด้วย ถ้าแปลได้ตั้งแต่ชั้นที่ ๒ ขึ้นไปจึงนับว่าเป็นเปรียญเปรียญเหล่านั้น ถ้ายังไม่ได้แปลถึงชั้นที่สุด หรือยังไม่ได้รับตำแหน่งยศเป็นพระราชาคณะ แม้ถึงจะมีพรรษายุกาลมาก ก็ยังนับว่ายังมีหน้าที่จะต้องแปลชั้นสูงขึ้นไปอีก ต่อเมื่อแปลถึงชั้นที่สุดแล้วก็ดี ได้รับตำแหน่งยศเป็นพระราชาคณะในระหว่างนั้นก็ดี จึงนับว่าสิ้นเขตที่จะแปลหนังสืออีก
ภิกษุสามเณรผู้เริ่มเรียน กว่าจะเรียนจบมูลปกรณ์ก็ช้านาน มักเป็นที่ระอาเบื่อหน่ายแล้วละทิ้งเสีย แม้ถึงเรียนตลอดบ้าง ก็ไม่เข้าใจตลอดไปได้ เพราะธรรมดาคนเรียนไม่อาจเข้าใจฉบับเรียนที่พิสดารให้ตลอดไปได้ จะกำหนดจำได้ก็แต่เพียงพอแก่สติปัญญา เหมือนเด็กน้อยที่ผู้ใหญ่ป้อนอาหารคำโตกว่าปากขึ้นไป รับบริโภคได้พอประมาณปากของตนฉะนั้น ท่านผู้ชำนาญในวิธีสอนบางท่านจึงได้คิดวิธีสอนผู้เริ่มเรียนใหม่เรียกว่า บทมาลา ย่อบ่างพิสดารบ้างตามความประสงค์ของท่าน สำหรับสอนแทนมูลปกรณ์ เพื่อจะให้เวลาเรียนเร็วขึ้น
ส่วนการเรียนนั้น สถานหนึ่งก็มีครูคนหนึ่งสอนนักเรียนทุกชั้นไม่ได้ปันเป็นแผนก จึงหาครูที่มีความรู้พอจะสอนได้ตลอดเป็นอันยาก ทั้งเป็นที่ลำบากของครูผู้จะสอนนั้นด้วย ส่วนกำหนดเวลาสอบความรู้สามปีครั้งหนึ่ง หรือหกปีครั้งหนึ่ง นั้นเป็นกาลนาน ผู้ที่เรียนมีความรู้พอจะสอบได้ แต่ยังไม่ถึงสมัยที่จะสอบ หรือผู้ที่สอบตกแล้วมักสิ้นความหวังที่จะคอยคราวสอบข้างหน้าอีก และนักเรียนคนหนึ่งสอบคราวหนึ่ง ก็จะไม่ได้กี่ชั้นนัก จึงไม่ใคร่จะมีเปรียญประโยคสูง เมื่อไม่มีเปรียญประโยคสูง จะหาครูที่สอนหนังสือชั้นสูงๆ ได้ก็ยากเข้าทุกที ถึงจะมีผู้ที่สอนหนังสือชั้นสูงๆ ได้ก็ยากเข้าทุกที ถึงจะมีผู้ที่สอบชั้นสูงได้บ่าง ก็คงได้รับตำแหน่งยศเป็นพระราชาคณะเสียในระหว่างยังไม่ทันได้สอบชั้นสูง ด้วยเหตุจำเป็นมีจะต้องเป็นเจ้าอาวาสเป็นต้น เมื่อเป็นฉะนี้ ก็ไม่ค่อยมีนักเรียนที่สอบได้ถึงชั้นที่สุด ตามแบบที่ตั้งไว้
ส่วนการแปลด้วยปากนั้น สอบวันหนึ่งได้ไม่กี่รูป กว่าจะจบเวลาสอบคราวหนึ่งถึงสามเดือน เมื่อเป็นเช่นนี้ จะกำหนดการสอบให้เร็วก็ไม่ได้อยู่เอง และเปรียญที่ได้สอบความรู้ได้ถึงชั้นนั้นๆ แล้ว ก็มีความรู้พออ่านหนังสือเข้าใจได้เท่านั้น ผู้สอบยังทราบไม่ได้ว่า เป็นผู้ทรงธรรมทรงวินัยสมควรจะปกครองหมู่คณะแล้วหรือไม่ อาศัยเหตุผลที่กล่าวมานี้ การเล่าเรียนพระปริยัติธรรมของภิกษุสามเณร จึงนับว่าเจริญดีแล้วยังไม่ได้
เพื่อจะคิดแก้ไขให้การเล่าเรียนพระปริยัติธรรมของภิกษุสามเณรเจริญดีขึ้น ทันเวลาที่เป็นไปอยู่บัดนี้ วิทยาลัยจึงได้จัดวิธีสอนและสอบความรู้ดังนี้ ในเบื้องต้นให้เริ่มเรียนบาลีไวยากรณ์ ซึ่งเป็นหนังสือชนิดเดียวกับบทมาลา แล้วจึงขึ้นคัมภีร์ต่อไป แบบที่สำหรับสอบความรู้นั้น บาลีไวยากรณ์ชั้นนักเรียนที่ ๓ อรรถกถาธรรมบทความนิทานชั้นเรียนที่ ๒ แก้คถาธรรมบทบั้นปลายเป็นชั้นนักเรียนที่ ๑ แก้คถาธรรมบทบั้นต้น เป็นชั้นเปรียญที่ ๓ (ต่อไปถ้ามีกำลังจะพิมพ์มังคลัตถทีปนีได้ จะใช้เป็นแบบสำหรับสอบชั้นเปรียญที่ ๓) บาลีพระวินัยมหาวิภังค์ และภิกขุนีวิภังค์ กับบาลีบางเล่มเป็นชั้นเปรียญที่ ๒ บาลีพระวินัยมหาวรรคและจุลวรรค กับบาลีพระอภิธรรมบางเล่มเป็นชั้นเปรียญที่ ๑ กำหนดการสอบไล่ทุกปี วิธีสอบไล่นั้นใช้เขียน แต่ยอมให้ผิดได้ไม่เกินกว่ากำหนด ถ้าได้ชั้นไหนแล้วเป็นอันได้ วิทยาลัยได้รับพระบรมราชานุญาติให้สอบไล่ได้โดยวิธีจัดนี้เป็นส่วนพิเศษ
๒.การที่ประชุมชนจะเข้าใจในพระพุทธศาสนาให้ชัดเจนมีอยู่ ๓ ทาง คือ ด้วยได้ฟังพระธรรมเทศนา ด้วยได้สนทนาธรรม ด้วยได้อ่านหนังสือที่เป็นคำสั่งสอน การเทศนานั้น มีที่วัดตามกำหนดวันพระนั้น จะได้ฟังก็แต่คนที่เข้าวัด ส่วนเทศนาในโรงธรรมนั้น ตั้งขึ้นที่ไหนก็มีแต่คนในจังหวัดนั้น และมักจะเทศน์แต่เรื่องนิทานนิยายอะไรต่างๆ ไม่เป็นทางที่จะเข้าใจในพระพุทธศาสนาดีขึ้น การเทศนาด้วยกิจนิมนต์ในมังคลามังคลสมัยนั้น ก็มักมีแบบไว้สำหรับพิธีนั้น ใครเคยฟังเรื่องใดก็ฟังเรื่องนั้นซ้ำๆ อย่างนั้น ไม่ค่อยจะได้ฟังเรื่องที่แปลกจากนั้น ส่วนการสนทนาธรรมนั้น เป็นทางที่จะเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ชัดเจน เพราะผู้ฟังถามข้อที่ตัวไม่เข้าใจหรือสงสัยอยู่ได้ แต่จะหาผู้ที่เข้าใจในการสนทนานี้ยากยิ่ง ส่วนการอ่านหนังสือที่เป็นคำสั่งสอนนั้น เป็นที่เข้าใจพระพุทธศาสนาได้ดีกว่าฟังเทศนา เพราะอ่านเองมีเวลาที่จะกำหนดตรึกตรองได้ตามชอบใจ และถ้าจำได้แล้วและลืมเสียกลับดูอีกก็ได้ แต่หนังสือที่สำหรับจะอ่านเช่นนั้นยังไม่มีแพร่หลายพอที่ประชุมชนจะแสวงหาไว้อ่านได้ หนังสือที่มีอยู่แล้วก็ยังไม่ได้แสดงคำสอนในพระพุทธศาสนาให้สิ้นเชิง เป็นแต่แสดงบางข้อตามความประสงค์ของผู้แต่งหนังสือนั้นๆ ความยินดีในธรรมของคนก็ต่างกัน บางคนยินดีในธรรมที่ลึกซึ้ง บางคนยินดีในธรรมที่ไม่ลึกซึ้ง ถ้าถูกอัธยาศัยก็พอใจอ่าน ถ้าไม่ถูกอัธยาศัยก็ไม่พอใจอ่าน หนังสือที่สำหรับสั่งสอนประชุมชนควรจะมีหลายอย่างตามอัธยาศัยของคนต่างๆ กัน
ในการที่จะแนะนำให้ประชุมชนเข้าใจพระพุทธศาสนาชัดเจนดีขึ้น เป็นกิจที่วิทยาลัยควรจัด ๒ ย่างคือ มีธรรมเทศนาที่วัดตามกำหนดวันพระอย่างหนึ่ง การจัดพิมพ์หนังสือแสดงคำสั่งสอนอย่างหนึ่ง การมีเทศนากำหนดวันพระนั้น ได้เคยมีเป็นประเพณีของวัดมาแล้ว ส่วนการพิมพ์หนังสือแสดงคำสั่งสอนนั้น วิทยาลัยจะจัดขึ้นตามกำลังที่จะจัดขึ้นได้
๓. การฝึกสอนเด็กชาวเมืองนั้น วิทยาลัยจะจัดให้มีโรงเรียนสอนหนังสือไทยและเลข และฝึกกิริยาเด็กให้เรียบร้อย สอนให้รู้จักดีและชั่วตามสมควร
ใน ๓ ข้อที่กล่าวมาแล้วนี้ การเล่าเรียนของภิกษุสามเณร วิทยาลัยได้จัดแล้ว ส่วนอีกสองข้อนั้น อาจจัดได้เมื่อใด ก็จะจัดเมื่อนั้นตามลำดับ
เมื่อได้จัดระเบียบการศึกษาและการสอบไล่พระปริยัติธรรมขึ้นที่มหามงกุฎราชวิทยาลัยแล้ว การแปลพระปริยัติธรรมตามแบบเก่าก็ยังให้คงแปลอยู่ตามเดิม ได้เริ่มการสอบไล่พระปริยัติธรรมที่สนามหมามกุฎราชวิทยาลัยตั้งแต่ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๔๓ รวม ๘ คราวก็งด รวมนักเรียนที่ศึกษาในมหามกุฎราชวิทยาลัยมาสอบในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามตามแบบเดิม จนสิ้นรัชกาลที่ ๕
การสอบไล่พระปริยัติธรรมในมหามกุฎราชวิทยาลัยครั้งแรก นับเป็นครั้งที่ ๖ แห่งการแปลพระปริยัติธรรมในรัชกาลที่ ๕ จำนวนเปรียญที่สอบไล่ได้ในมหามกุฎราชวิทยาลัย ๘ คราวซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ ปีใดพ้องกับการแปลพระปริยัติธรรมตามแบบเก่า ได้จดจำนวนเปรียญฝ่ายนั้นมารวมไว้ด้วย ดังต่อไปนี้
การแปลพระปริยัติธรรมครั้งที่ ๖ (ครั้งที่ ๑ ในมหามกุฎราชวิทยาลัย) แปลเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นคราวที่พึ่งเริ่มเปิดสนามมหามกุฎราชวิทยาลัยใหม่ๆ มีนักเรียนสอบไล่ได้เป็นนักเรียนเอก เทียบเท่า ๓ ประโยคแต่รูปเดียวเท่านั้น
การแปลพระปริยัติธรรมครั้งที่ ๗ (ครั้งที่ ๒ ในมหามกุฎราชวิทยาลัย) แปลเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๓๗ คราวนี้มีการแปลพระปริยัติธรรมตามแบบเดิมที่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามพ้องด้วย วิธีแปลพระปริยัติธรรมตามแบบเดิมคราวนี้ คงใช้วิธีอย่างคราวที่ ๕ ทั้งสิ้น รวมเปรียญทั้ง ๒ สนาม เปรียญเก่าแปลเพิ่มประโยคได้ ๒๙ รูป นักเรียนแปลได้เป็นเปรียญ ๓๗ รูป
การแปลพระปริยัติธรรมครั้งที่ ๘ (ครั้งที่ ๓ ในมหามกุฎราชวิทยาลัย) แปลเมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๓๘ เปรียญเก่าแปลเพิ่มประโยคได้ ๕ รูป นักเรียนแปลได้เป็นเปรียญ ๑๔ รูป
การแปลพระปริยัติธรรมครั้งที่ ๙ (ครั้งที่ ๔ ในมหามกุฎราชวิทยาลัย) แปลเมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๓๙ เปรียญเก่าแปลเพิ่มประโยคได้ ๑๓ รูป นักเรียนแปลได้เป็นเปรียญ ๒๗ รูป
การแปลพระปริยัติธรรมครั้งที่ ๑๐ (ครั้งที่ ๕ ในหมามกุฎราชวิทยาลัย) แปลเมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๔๐ เปรียญเก่าแปลเพิ่มประโยคได้ ๒๒ รูป นักเรียนแปลได้เป็นเปรียญ ๑๐ รูป
การแปลพระปริยัติธรรมครั้งที่ ๑๑ (ครั้งที่ ๖ ในมหามกุฎราชวิทยาลัย) แปลเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ คราวนี้มีการแปลพระปริยัติธรรมตามแบบเดิมที่ในพระอุโบสถวัดสุทัศน์พ้องด้วย วิธีแปลพระปริยัติธรรมตามแบบเดิมครั้งนี้ ชั้นนักเรียนที่แปลธรรมบทกำหนดให้แปลหนังสือเพียง ๑๐ บรรทัดเป็นจบประโยค กำหนดเวลาให้ ๕๐ นาที ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ว่า ยอมให้นักเรียนชั้นแปลธรรมบทได้ประโยค ๑ ตกประโยค ๒ ได้ประโยค ๒ ตกประโยค ๓ ไม่ต้องทวนมาแปลประโยค ๑ ต่อไปใหม่ในคราวหน้า ให้แปลต่อประโยคที่ได้ไว้แล้วทีเดียว รวมเปรียญทั้ง ๒ สนาม เปรียญเก่าแปลเพิ่มประโยคได้ ๓๕ รูป นักเรียนแปลได้เป็นเปรียญ ๗๘ รูป
การแปลพระปริยัติธรรมครั้งที่ ๑๒ (ครั้งที่ ๗ ในมหามกุฎราชวิทยาลัย) แปลเมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๔๒ คราวนี้มีการแปลพระปริยัติธรรมตามแบบเดิมที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์พ้องด้วย แต่สนามวัดสุทัศน์แปลได้เพียง ๓ วัน ไม่ทันนักเรียนที่แปลได้เป็นเปรียญก็งด ด้วยสมเด็จพระวันรัตผู้เป็นกรรมการชี้ขาดอาพาธ จึงมีแต่เปรียญในมหามกุฎราชวิทยาลัย เปรียญเก่าแปลเพิ่มประโยคได้ ๖ รูป นักเรียนแปลได้เป็นเปรียญ ๑๒ รูป
การแปลพระปริยัติธรรมครั้งที่ ๑๓ (ครั้งที่ ๘ ในมหามกุฎราชวิทยาลัย) แปลเมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓ คราวนี้มีการแปลพระปริยัติธรรมตามแบบเดิมที่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามพ้องด้วย การแปลพระปริยัติตามแบบเดิมครั้งนี้ ชั้นนักเรียนผู้แปลธรรมบทเฉพาะประโยค ๓ เพิ่มหนังสือที่แปลเป็น ๒๐ บรรทัด กำหนดเวลาแปล ๙๐ นาทีอย่างเดิม รวมเปรียญทั้ง ๒ สนาม เปรียญเก่าแปลเพิ่มประโยคได้ ๒๗ รูป นักเรียนแปลได้เป็นเปรียญ ๔๑ รูป
นามเปรียญที่แปลได้ใน ๘ คราว มีแจ้งอยู่ในบัญชีหนังสือเรื่อง เปรียญรัชกาลที่ ๕ ภาค ๒
...............................................................................................
คัดจาก
ประชุมพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
อ้างอิง :
รัตนโกสินทร์ ๒๒๕
โพสโดย
webmaster
เมื่อ September 18 2009 18:34:08 12265 ครั้ง ·
คะแนน
สามารถให้คะแนนได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น.
โปรดเข้าสู่ระบบก่อนการให้คะแนน.
ยังไม่มีการให้คะแนน.
แสดงผลในเวลา: 0.00 วินาที
141,359,837 ผู้เยี่ยมชม
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง อาคารหอสมุดมหามกุฏราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร
เลขที่ ๒๘๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๖๖๒ ๘๕๘๕ โทรสาร -
ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์
****************************************
เนื้อหาที่ปรากฏในเว็บไซต์นี้ เป็นการจัดข้อมูลตามความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
แสดงปกติในหน้าจอโหมด ๑๐๒๔ x ๗๖๘ โปรแกรม Interner Explorer ทั่วไป
และแสดงปกติในหน้าจอโหมด ๑๐๒๔ x ๗๖๘
โปรแกรม Mozilla FireFox 3.5
ไม่รับรองว่าจะแสดงผลปกติใน web browser อื่น ๆ นอกจากที่กล่าวนี้
สนับสนุนเว็บไซต์โดย:
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
Internet Solution & Service Provider