November 21 2024 15:52:44
เมนู
หน้าแรก
ใบคำร้องฯ
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๔
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี ประถม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี มัธยม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี อุดม
รับข้อสอบ ๑
รับข้อสอบ ๒
รับข้อสอบ ๓
ทดสอบสอบความรู้จากข้อสอบธรรมศึกษา 2543-2562
eLearning ธรรมศึกษา
วีดิโอสอนธรรมศึกษา
ระเบียบการจัดสอบ ๒๕๖๐
กระดาษเขียนกระทู้ธรรม ธศ.
สมุดลงนามฯ (สมุดเยี่ยม)
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
บัญชีบรรจุใบตอบปรนัย
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ นธ.
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ ธศ.
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน (แบบใหม่ ๒๕๖๑)
วิธีระบายเลขที่สอบ (ธรรมศึกษา)
นักธรรม (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
นักธรรม (ฟอร์มขอแก้ไข)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มขอแก้ไข)
ดาวน์โหลด
ปัญหา-เฉลย นักธรรม ๖๔
ปัญหา-เฉลย น.ธ.-ธ.ศ. ๖๕
สถิติสอบธรรม ๒๕๖๒
อันดับสำนักเรียนสอบได้มาก

ประวัตินักธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทำเนียบแม่กองธรรม
ทำเนียบผู้บริหารปัจจุบัน
แม่กองธรรมสนามหลวง
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
หนังสือประกอบหลักสูตร
ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา
ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
กฏกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๘

การขอใบรับรอง

ห้องแสดงภาพ
ห้องสนทนา
บทความ
เว็บลิงค์
คำถามยอดนิยม
ค้นหา

ส่งบทความ
ปฏิทินกิจกรรม

วิดีโอแกลอรี่
เพิ่มวิดีโอ
วีดีทัศน์เกี่ยวกับสอบธรรม 2553
ผู้มีสิทธิสอบ
ฝ่ายธุรการ
รายชื่อรัฐของสหรัฐอเมริกา
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
ติดต่อสำนักเรียน
ทั่วประเทศ
ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค (ม)
ส่วนภูมิภาค (ธ)

เจ้าคณะตำบล-อำเภอ-จังหวัด
วัดทั่วประเทศ
สถานศึกษาทั่วประเทศ

สนามสอบทั่วประเทศ
สนามสอบนักธรรม ส่วนกลาง
ระเบียบปฏิบัติ
MOU ธรรมศึกษา
คำปราศรัยฯ นธ.ตรี
คำปราศรัยฯ นธ.โท-เอก
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ

ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน
คำอธิบายการฝนใบคำตอบ

ระเบียบการจัดสอบ
กำหนดวันสอบ ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนภูมิภาค ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ภาคผนวก ๒๕๖๗
เล่มสนามสอบ สมัยที่ ๒

วิธีการตรวจข้อสอบนักธรรม
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
สนามหลวง แผนกบาลี
ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย
ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
หัวข้อแนะนำ
พระมหาสมณเจ้าฯ

งานฉลอง ๙๗ พระชันษา

ดูสถิติการเข้าชมเว็บของคุณ
Youtube Gallery
   วิดีโอทั้งหมด (11)
   พระประวัติ และ ประวัติ (3)
   การศึกษาของสงฆ์ไทย (1)
   พิธีเปิดสอบธรรม พ.ศ. 2553 (0)
   คู่มือ-เทคนิค-วิธีการ (7)
วิดีโอล่าสุด
video

video

สนง.พระพุทธศาสนาฯ



ชวนเพื่อนมาชมเว็บนี้

อีเมล์คุณ:
ส่งถึงเพื่อน:
คัดลอกสำเนา?
ดูกระทู้
 พิมพ์กระทู้
ขอบข่ายหลักสูตรธรรมศึกษา ชั้นเอก ฉบับปรับปรุง ๒๕๕๗
phng
#1 พิมพ์ข้อความ
โพสเมื่อ 27-07-2017 16:51
Super Admin


ข้อความ: 80
เข้าร่วม: 01.09.12


๑. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท
๑. อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว
สุสมาหิตสงฺกปฺปา สจิตฺตมนุรกฺขถ.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลดีงาม
ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตใจของตน.
(พุทฺธ) ที. มหา. ๑๐/๑๔๒.

๒. อปฺปมาทรตา โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร.

ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน,
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.

๓. อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
สญฺโญชนํ อณุํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ.

ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท
ย่อมเผาสังโยชน์ น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๔. อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก.

ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม (ชื่อว่า) อยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๕. เอวํวิหารี สโต อปฺปมตฺโต
ภิกฺขุ จรํ หิตฺวา มมายิตานิ
ชาติชรํ โสกปริทฺทวญฺจ
อิเธว วิทฺวา ปชเหยฺย ทุกฺขํ.

ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท
ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วเที่ยวไป เป็นผู้รู้
พึงละชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๕., ขุ. จู. ๓๐/๙๒.

๖. อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน สญฺเมน ทเมน จ
ทีปํ กยิราถ เมธาวี ยํ โอโฆ นาภิกีรติ.

คนมีปัญญา พึงสร้างเกาะ ที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้
ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวม และความข่มใจ.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.

๒. จิตตวรรค คือ หมวดจิต
๗. อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนฺวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ.

ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว
มีบุญและบาปอันละ ได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๐.

๘. กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา
นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา.

บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ
กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว
พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา
และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้ ไม่พึงยับยั้งอยู่.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๐.

๙. จิตฺเตน นียติ โลโก จิตฺเตน ปริกสฺสติ
จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส สพฺเพว วสมนฺวคู.

โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป,
สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๕๔.

๑๐. ตณฺหาธิปนฺนา วตฺตสีลพทฺธา
ลูขํ ตปํ วสฺสสตํ จรนฺตา
จิตฺตญฺจ เนสํ น สมฺมา วิมุตฺตํ
หีนตฺตรูปา น ปารงฺคมา เต.

ผู้ถูกตัญหาครอบงำ ถูกศีลพรตผูกมัด
ประพฤติตบะอันเศร้าหมองตั้งร้อยปี,
จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้.
เขามีตนเลว จะถึงฝั่งไม่ได้.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๔๐.

๑๑. ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.

การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่
เป็นความดี, (เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๑๒. ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส น ผาติ โหติ
น จาปิ นํ เทวตา ปูชยนฺติ
โย ภาตรํ เปตฺติกํ สาปเตยฺยํ
อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี.

ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่
ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา.
(เทว) ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๒๐.

๑๓. ภิกฺขุ สิยา ฌายิ วิมุตฺตจิตฺโต
อากงฺเข เว หทยสฺสานุปตฺตึ
โลกสฺส ญตฺวา อุทยพฺพยญฺจ
สุเจตโส อนิสฺสิโต ตทานิสํโส.

ภิกษุเพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้น
รู้ความเกิดและความเสื่อมแห่งโลกแล้ว
มีใจดี ไม่ถูกกิเลสอาศัย มีธรรมนั้นเป็นอานิสงส์
พึงหวังความบริสุทธิ์แห่งใจได้.
(เทว) สํ. ส. ๑๔/๗๓.

๑๔. โย อลีเนน จิตฺเตน อลีนมนโส นโร
ภาเวติ กุสลํ ธมฺมํ โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา
ปาปุเณ อนุปุพฺเพน สพฺพสํโยชนกฺขยํ.

คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่
บำเพ็ญกุศลธรรม เพื่อบรรลุธรรมที่เกษมจากโยคะ
พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๘.

๑๕. สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.

ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก
ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่,
(เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๓. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
๑๖. อตฺถงฺคตสฺส น ปมาณมตฺถิ
เยน นํ วชฺชุ ตํ ตสฺส นตฺถิ
สพฺเพสุ ธมฺเมสุ สมูหเตสุ
สมูหตา วาทปถาปิ สพฺเพ.

ท่านผู้ดับไป (คือปรินิพพาน) แล้ว ไม่มีประมาณ,
จะพึงกล่าวถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี,
เมื่อธรรมทั้งปวง (มีขันธ์เป็นต้น) ถูกเพิกถอนแล้ว
แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง (ว่าผู้นั้นเป็นอะไร)
ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๙., ขุ. จู. ๓๐/๑๓๙.

๑๗. อาทานตณฺหํ วินเยถ สพฺพํ
อุทฺธํ อโธ ติริยํ วาปิ มชฺเฌ
ยํ ยํ หิ โลกสฺมึ อุปาทิยนฺติ
เตเนว มาโร อนฺเวติ ชนฺตุํ .

พึงขจัดตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง
ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง,
เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้
มารย่อมติดตามเขาไป เพราะสิ่งนั้น ๆ.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๔๖., ขุ. จู. ๓๐/๒๐๒.

๑๘. อุจฺฉินฺท สิเนหมตฺตโน
กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา
สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย
นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ.

จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง
จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๕๓.

๑๙. โอวเทยฺยานุสาเสยฺย อสพฺภา จ นิวารเย
สตํ หิ โส ปิโย โหติ อสตํ โหติ อปฺปิโย.

บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และป้องกันจากคนไม่ดี
เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๕.

๒๐. กาเมสุ พฺรหฺมจริยวา วีตตณฺโห สทา สโต
สงฺขาย นิพฺพุโต ภิกฺขุ ตสฺส โน สนฺติ อิญฺชิตา.

ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจากตัณหา
มีสติทุกเมื่อพิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มีความหวั่นไหว.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๑., ขุ. จู. ๓๐/๓๕.

๒๑. ขตฺติโย จ อธมฺมฏฺโฐ เวสฺโส จาธมฺมนิสฺสิโต
เต ปริจฺจชฺชุโภ โลเก อุปปชฺชนฺติ ทุคฺคตึ.

กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม และแพศย์ (คนสามัญ) ไม่อาศัยธรรม
ชนทั้ง ๒ นั้นละโลกแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๗๕.

๒๒. คตทฺธิโน วิโสกสฺส วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ
สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส ปริฬาโห น วิชฺชติ.

ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง
ละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๗.

๒๓. จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ
องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ
จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต.

พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ, เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ,
เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๔๗.

๒๔. ฉนฺทชาโต อนกฺขาเต มนสา จ ผุโฐ สิยา
กาเม จ อปฏิพทฺธจิตฺโต อุทฺธํโสโตติ วุจฺจติ.

พึงเป็นผู้พอใจและประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้
ผู้มีจิตไม่ติดในกาม ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๔๔.

๒๕. ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
เอตํ ญตฺวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.

ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๒๖. ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา
อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ
สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ.

ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา
ส่วนธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๑๐๒.

๒๗. เต ฌายิโน สาตติกา นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ.

ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีความเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
ย่อมถูกต้อง พระนิพพานอันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.

๒๘. ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ
นาญฺญตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ นาญฺญตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ.

ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ.
(ภิกฺขุณี) สํ. ส. ๑๕/๑๙๙., ขุ. มหา. ๒๙/๕๓๖.

๒๙. ธมฺโม ปโถ มหาราช อธมฺโม ปน อุปฺปโถ
อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ.

มหาราช ! ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม)
ส่วนอธรรมนอกลู่นอกทาง (ไม่ควรดำเนินตาม)
อธรรมนำไปนรก ธรรมให้ถึงสวรรค์.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. สฏฺฐิ ๒๘/๓๙.

๓๐. นนฺทิสญฺโชโน โลโก วิตกฺกสฺส วิจารณา
ตณฺหาย วิปฺปหาเนน นิพฺพานํ อิติ วุจฺจติ.

สัตว์โลกมีความเพลินเป็นเครื่องผูกพัน มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป
ท่านเรียกว่านิพพาน เพราะละตัณหาได้.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๔๗,. ขุ. จู. ๓๐/๒๑๖,๒๑๗.

๓๑. นาญฺญตฺร โพชฺฌาตปสา นาญฺญตฺร อินฺทฺริยสํวรา
นาญฺญตฺร สพฺพนิสฺสคฺคา โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาณินํ.

เรา (ตถาคต) ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลำย นอกจากปัญญา
ความเพียร ความระวังตัวและการสละสิ่งทั้งปวง.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๗๕.

๓๒. ปญฺจกฺขนฺธา ปริญฺญาตา ติฏฺฐนฺติ ฉินฺนมูลกา
ทุกฺขกฺขโย อนุปฺปตฺโต นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว.

เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว มีรากขาดตั้งอยู่
ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว ก็ไม่มีภพ ต่อไปอีก.
(เถรี) ขุ. เถรี. ๒๖/๓๓๔.

๓๓. ปตฺตา เต นิพฺพานํ เย ยุตฺตา ทสพลสฺส ปาวจเน
อปฺโปสฺสุกฺกา ฆเฏนฺติ ชาติมรณปฺปหานาย.

ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย
พากเพียรละความเกิดความตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน.
(เถร) ขุ. เถร. ๒๖/๕๐๒.

๓๔. พหุสฺสุตํ อุปาเสยฺย สุตญฺจ น วินาสเย
ตํ มูลํ พฺรหฺมจริยสฺส ตสฺมา ธมฺมธโร สิยา.

พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม
สุตะนั้นเป็นรากแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น ควรเป็นผู้ทรงธรรม.
(เถร) ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๖.

๓๕. มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ สจฺจานํ จตุโร ปทา
วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ ทิปทานญฺจ จกฺขุมา.

บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐสุด,
บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ๔ ประเสริฐสุด,
บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐสุด,
และบรรดาสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐสุด.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๕๑.

๓๖. ยตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ อเสสํ อุปรุชฺฌติ
วิญฺญาณสฺส นิโรเธน เอตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ.

นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด
นามและรูปนี้ย่อมดับไปในที่นั้น เพราะวิญญาณดับ.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๑., ขุ. จู. ๓๐/๒๑.

๓๗. ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺโม ทโม
เอตทริยา เสวนฺติ เอตํ โลเก อนามตํ.

สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะ มีอยู่ในผู้ใด
อารยชนย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๘.

๓๘. ยานิ โสตานิ โลกสฺมึ สติ เตสํ นิวารณํ
โสตานํ สํวรํ พฺรูหิ ปญฺญาเยเต ปิถิยฺยเร

กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น
เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๐., ขุ. จู. ๓๐/๑๖,๒๐.

๓๙. เย สนฺตจิตฺตา นิปกา สติมนฺโต จ ฌายิโน
สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ กาเมสุ อนเปกฺขิโน.

ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ
ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ.
(พุทฺธ) ขุ. อิติ. ๒๕/๒๖๐.

๔๐. โย จ ปปญฺจํ หิตฺวาน นิปฺปปญฺจปเท รโต
อาราธยิ โส นิพฺพานํ โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ.

ผู้ใดละปปัญจธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรมที่ไม่มีสิ่งที่ทำให้เนิ่นช้า
ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพานอันปลอดจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.
(เถร) องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๒๙.

๔๑. สกํ หิ ธมฺมํ ปริปุณฺณมาหุ
อญฺญสฺส ธมฺมํ ปน หีนมาหุ
เอวมฺปิ วิคฺคยฺห วิวาทยนฺติ
สกํ สกํ สมฺมติมาหุ สจฺจํ.

สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์,
แต่กล่าวธรรมของผู้อื่น ว่าเลว (บกพร่อง ),
เขาย่อมทะเลาะวิวาทกัน แม้ด้วยเหตุนี้
เพราะต่างก็กล่าวข้อสมมติของตน ๆ ว่าเป็นจริง.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๑๑., ขุ. มหา. ๒๙/๓๘๓.

๔๒. สมฺมปฺปธานสมฺปนฺโน สติปฏฺฐานโคจโร
วิมุตฺติกุสุสญฺฉนฺโน ปรินิพฺพายิสฺสตฺยนาสโว.

ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์
ดาดาษด้วยดอกไม้ คือวิมุตติ หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน.
(เถร) ขุ. เถร. ๒๖/๒๘๒.

๔๓. สุสุขํ วต นิพฺพานํ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
อโสกํ วิรชํ เขมํ ยตฺถ ทุกฺขํ นิรุชฺฌติ.

พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ.
(เถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๐๙.

๔๔. โสรจฺจํ อวิหึสา จ ปาทา นาคสฺส เต ทุเว
สติ จ สมฺปชญฺญญฺจ จรณา นาคสฺส เต ปเร.

โสรัจจะและอวิหิงสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง
สติและสัมปชัญญะนั้น เป็นช้างเท้าหน้า.
(เถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๖๘.

๔๕. หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย ปมาเทน น สํวเส
มิจฺฉาทิฏฺฐึ น เสเวยฺย น สิยา โลกวฑฺฒโน.

ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท
ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

๔๖. หีเนน พฺรหฺมจริเยน ขตฺติเย อุปปชฺชติ
มชฺฌิเมน จ เทวตฺตํ อุตฺตเมน วิสุชฺฌติ.

บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว,
ถึงความเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง, ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๙๙.

๔. วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
๔๗. โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ เขมโต
อารทฺธวิริยา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี.

ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย
และเห็นการปรารภความเพียรเป็นความปลอดภัย
แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี.
(พุทฺธ) ขุ. จริยา. ๓๓/๕๙๕.

๔๘. ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา.

ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก
ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๕๑.

๔๙. นิทฺทํ ตนฺทึ วิชิมฺหิตํ อรตึ ภตฺตสมฺมทํ
วิริเยน นํ ปณาเมตฺวา อริยมคฺโค วิสุชฺฌติ.

อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ เพราะขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน
ความบิดขี้เกียจ ความไม่ยินดี และความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๑๐.

๕๐. โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ.

ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
แต่ผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.

๕๑. สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ปญฺญวา สุสมาหิโต
อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ.

ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว ปรารภความเพียร
ตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๗๕.

๕. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๕๒. วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต
สมคฺคา สขิลา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี.

ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย
และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง
มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี.
(พุทฺธ) ขุ. จริยา. ๓๓/๕๙๕.

๕๓. สามคฺยเมว สิกฺเขถ พุทฺเธเหตํ ปสํสิตํ
สามคฺยรโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ.

พึงศึกษาความสามัคคี ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว,
ผู้ยินดี ในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๔๖.

๕๔. สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห
สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ.

ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกัน ก็เป็นสุข,
ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ.
(พุทฺธ) ขุ. อิติ. ๒๕/๒๓๘.

วิชาธรรมวิจารณ์

ความรู้เบื้องต้น
ส่วนปรมัตถปฏิปทา
นิพพิทา ความหน่าย
ปฏิปทาแห่งนิพพิทา
วิราคะ ความสิ้นกำหนัด
วิมุตติ ความหลุดพ้น
วิสุทธิ ความหมดจด
สันติ ความสงบ
นิพพาน ความดับทุกข์

ส่วนสังสารวัฏ
คติ
ทุคติ
สุคติ
กรรม ๑๒
หัวใจสมถกัมมัฏฐาน
สมถกัมมัฏฐาน
พุทธคุณกถา
วิปัสสนากัมมัฏฐาน

วิชาพุทธานุพุทธประวัติ

ปริเฉทที่ ๑ ชาติกถา
จุติลงสู่พระครรภ์
ประวัติชมพูทวีปและประชาชน
ความเชื่อของคนในยุคนั้น
การสร้างเมืองกบิลพัสดุ์และตั้งศากยวงศ์
ลำดับพระวงศ์
พระมารดาทรงพระสุบินนิมิต
พระโพธิสัตว์ประสูติ
มหาปุริสลักษณะ ๓๒
อนุพยัญชนะ ๘๐
อาสภิวาจา
สหชาติ
ขนานพระนาม
พราหมณ์ ๘ คน ทำนายพระลักษณะ
พระนางสิริมหามายาทิวงคต
พระราชพิธีวัปปมงคล
ทรงอภิเษกสมรส

ปริเฉทที่ ๒ บรรพชา
ประพาสอุทยาน
ราหุลประสูติ
กีสาโคตมีชมโฉม
มูลเหตุให้เสด็จออกบรรพชา
เสด็จห้องพระนางพิมพา
เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
ทรงทดลองปฏิบัติตามลัทธิต่าง ๆ
อุปมา ๓ ข้อ
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ๓ วาระ
ปัญจวัคคีย์ออกบวชตาม
นางสุขาดาถวายข้าวมธุปายาส
พระสุบินนิมิต
ทรงลอยถาด
เสด็จสู่ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ทรงผจญวสวัตตีมาร
บำเพ็ญเพียรทางใจและได้ตรัสรู้

ปริเฉทที่ ๓ สัตตมหาสถาน
เสวยวิมุตติสุข
สหัมบดีพรหมอาราธนา

ปริเฉทที่ ๔ ประกาศพระศาสนา
เสด็จโปรดฤษีปัญจวัคคีย์
ทรงแสดงปฐมเทศนา
โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม
ทรงประทานการบวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
โปรดยสกุลบุตร
ปฐมอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา
สหายพระยสะ ๕๔ คน ออกบวช
ส่งพระสาวก ๖๐ องค์ ไปประกาศพระศาสนา
ประทานอุปสมบทแก่ภัททวัคคีย์
โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง และบริวาร
ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร
โปรดพระเจ้าพิมพิสาร
ทรงรับสวนเวฬุวันเป็นอารามสงฆ์

ปริเฉทที่ ๕ ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ
พระอัครสาวกทั้งสอง
พระสารีบุตร
พระมหาโมคคัลลานะ

ปริเฉทที่ ๖ ศิษย์พราหมณ์พาวรี ๑๖ คน
ปัญหาอชิตมาณพ
ปัญหาติสสเมตเตยยมาณพ
ปัญหาปุณณกมาณพ
ปัญหาเมตตคูมาณพ
ปัญหาโธตกมาณพ
ปัญหาอุปสีวมาณพ
ปัญหานันทมาณพ
ปัญหาเหมกมาณพ
ปัญหาโตเทยยมาณพ
ปัญหากัปปมาณพ
ปัญหาชตุกัณณีมาณพ
ปัญหาภัทราวุธมาณพ
ปัญหาอุทยมาณพ
ปัญหาโปสาลมาณพ
ปัญหาโมฆราชมาณพ
ปัญหาปิงคิยมาณพ
มาณพ ๑๖ คน ทูลขออุปสมบท

ปริเฉทที่ ๗ ประทานการบวชด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจา
ประวัติพระราธะ
การบวชด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจาครั้งแรก
โปรดพระปุณณมันตานีบุตร

ปริเฉทที่ ๘ เสด็จเมืองกบิลพัสดุ์
แสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา
นันทกุมารออกบวช
รับสั่งให้บวชราหุลกุมารเป็นสามเณร
พระเจ้าสุทโธทนะทูลขอพรการบวชกุลบุตร
พระพุทธบิดาทรงประชวรและบรรลุพระอรหันต์
ถวายพระเพลิงพระบรมศพ
อนาถปิณฑิกสร้างวัดถวาย

ปริเฉทที่ ๙ เจ้าศากยะออกบวช
มูลเหตุที่พระอนุรุทธะออกบวช
พระเทวทัตทำอนันตริยกรรม
ทรงแสดงพระมหาปุริสวิตก ๘ ข้อ
พระอนุรุทธะสรรเสริญสติปัฏฐาน ๔
พระอานนท์ทูลขอพร ๘ ประการ

ปริเฉทที่ ๑๐ โปรดพระพุทธมารดา
ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์
เสด็จจำพรรษาในดาวดึงส์โปรดพระพุทธมารดา
เสด็จลงจากดาวดึงส์
รับผ้าคู่ของพระนางโคตมี

ปริเฉทที่ ๑๑ โปรดพระสาวก
โปรดพระโสณโกฬิวิสะ
โปรดพระรัฏฐปาละ
พระรัฏฐปาละแสดงธรรมุทเทศ ๔ ประการ

ปริเฉทที่ ๑๒ เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ทรงปรารภธรรม
ทรงทำนิมิตโอภาส
ปลงอายุสังขาร
บิณฑบาตครั้งสุดท้าย
ทรงรับผ้าสิงคิวรรณ
ผลแห่งบิณฑบาตทาน
ทรงปรารภสักการบูชา
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
โปรดสุภัททปริพาชก
โปรดให้ลงพรหมทัณฑ์
ประทานปัจฉิมโอวาท
พระบรมศพไม่เคลื่อนที่
พระนางมัลลิกาถวายสักการะ
ถวายพระเพลิงไม่ติด
แจกพระบรมสารีริกธาตุ
พระเขี้ยวแก้วประดิษฐานอยู่เทวโลก
อันตรธาน ๕
ลำดับพรรษายุกาล

ปริเฉทที่ ๑๓ ภิกษุณี
การออกบวชของพระปฐมสาวิกา
ทรงอนุญาตครุธรรมปฏิคคหณอุปสัมปทา
ทรงแสดงเหตุที่ไม่ยอมให้สตรีบวช
พระนางพิมพาออกบวช

วิชาวินัย (กรรมบถ)

กรรมบถ
ความสำคัญของกรรมบถ
เรื่อง สัฏฐิกูฏเปรต
เรื่อง ลาชเทวธิดา
การให้ผลของกรรม

อกุศลกรรมบถ ๑๐
กายกรรม ๓
ปาณาติบาต การฆ่าสัตว์
เรื่อง นายโคฆาตก์
อทินนาทาน การลักทรัพย์
เรื่อง เวมานิกเปรต
กาเมสุมิจฉาจาร
เรื่อง นางกินนรีเทวี

วจีกรรม ๔
มุสาวาท การพูดเท็จ
เรื่อง กักการุชาดก
ปิสุณวาจา การพูดส่อเสียด
เรื่อง วัสสการพราหมณ์
ผรุสวาจา การพูดคำหยาบ
เรื่อง โคนันทิวิสาล
สัมผัปปลาปะ การพูดเพ้อเจ้อ
เรื่อง บุรุษเปลี้ย
วจีกรรมแสดงออกได้ ๒ ทาง

มโนกรรม ๓
อภิชฌา การเพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น
เรื่อง นายภัตตภติกะ
พยาบาท การคิดปองร้อยผู้อื่น
เรื่อง อชครเปรต
มิจฉาทิฏฐิ การเห็นผิดจากคลองธรรม
มิจฉาทิฏฐิ ๓
เรื่อง ปูรณกัสสปะ เจ้าลัทธิผู้ถืออกิริยทิฏฐิ
เรื่อง มักขลิโคสาล เจ้าลัทธิผู้ถืออเหตุกทิฏฐิ
เรื่อง อชิตเกสกัมพล เจ้าลัทธิผู้ถือนัตถิกทิฏฐิ
มโนกรรมเป็นไปทางทวาร ๓

โทษของอกุศลกรรมบถ
พฤติกรรมที่เป็นบาป ๔ อย่าง
คนชั่วยิ่งกว่าคนชั่ว
กุศลกรรมบถ ๑๐
ธรรมจริยสมจริยาทางกายกรรม ๓
ธรรมจริยสมจริยาทางวจีกรรม ๔
ธรรมจริยสมจริยาทางมโนกรรม ๓

อานิสงส์ของกุศลกรรมบถ
อุปนิสัย
กุศลกรรมบถโดยอาการ ๕
~ ~ ~ o ~ ~ ~
ผู้จะเข้าสอบประโยคธรรมศึกษาชั้นเอก
ต้องสอบได้ประโยคธรรมศึกษาชั้นโทมาแล้วเท่านั้น

แก้ไขโดย phng เมื่อ 28-07-2017 23:44
 
ไปยังกระดานสนทนา:
แสดงผลในเวลา: 0.03 วินาที 141,358,561 ผู้เยี่ยมชม