การเปลี่ยนแปลงบัญชีใบรับใบตอบ ในปีนี้ให้ใช้รูปแบบพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานจัดส่งให้
|
webmaster |
โพสเมื่อ 27-09-2009 20:47
|
Super Admin
ข้อความ: 50
เข้าร่วม: 17.09.09
|
การใช้บัญชีรับใบตอบ
บัญชีรับใบตอบให้ใช้ใบเดียวทั้ง ๔ วิชา เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดทำข้อมูล
ในปีนี้ให้ใช้รูปแบบพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงจัดส่งให้ โดยให้สำนักเรียนพิมพ์เลขประจำตัว วัด ชื่อ ฉายา นามสกุล อายุ พรรษา ให้เรียบร้อย เรียงลำดับให้ตรงกับบัญชีขอเข้าสอบ (ศ.๒, ศ.๖)
เมื่อส่งใบตอบวันแรกให้นักเรียนตรวจสอบชื่อ ฉายา นามสกุล ฯลฯ หากผิดให้แก้ไขในบัญชีรับใบตอบนั้น แล้วลงลายมือชื่อด้วยตัวบรรจงในช่องประจำวิชานั้น ๆ ในแต่ละวัน ผู้สอบจะต้องลงชื่อด้วยตนเอง จะลงชื่อแทนกันไม่ได้
หมายเหตุ : อ้างอิงจาก ระเบียบปฏิบัติส่วนภูมิภาคข้อที่ ๒๓ และส่วนกลางข้อที่ ๑๗
สามารถดาวน์โหลดบัญชีใบรับใบตอบได้ที่ https://www.gongt...load_id=31
it not over until is over = มันยังไม่จบ จนกว่ามันจะจบ |
|
|
|
webmaster |
โพสเมื่อ 27-09-2009 20:50
|
Super Admin
ข้อความ: 50
เข้าร่วม: 17.09.09
|
ขออนุญาตถวายคำแนะนำย้ำต่อสนามสอบทุกสนามสอบนะครับว่า
- ให้ใช้รูปแบบพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงจัดส่งให้ (อย่าสร้างรูปแบบบัญชีขึ้นมาเองนะครับ)
- ให้สำนักเรียนพิมพ์เลขประจำตัว วัด ชื่อ ฉายา นามสกุล อายุ พรรษา ให้เรียบร้อย เรียงลำดับให้ตรงกับบัญชีขอเข้าสอบ (ศ.๒, ศ.๖)
- หากผิดให้แก้ไขในบัญชีรับใบตอบนั้น
- ลงลายมือชื่อด้วยตัวบรรจงในช่องประจำวิชานั้น ๆ ในแต่ละวัน
- ผู้สอบจะต้องลงชื่อด้วยตนเอง จะลงชื่อแทนกันไม่ได้
แก้ไขโดย webmaster เมื่อ 27-09-2009 22:03
it not over until is over = มันยังไม่จบ จนกว่ามันจะจบ |
|
|
|
webmaster |
โพสเมื่อ 20-10-2009 20:41
|
Super Admin
ข้อความ: 50
เข้าร่วม: 17.09.09
|
จากการประเมินเบื้องต้นสำหรับการตรวจสอบข้อมูล จากการให้ใช้บัญชีแบบใหม่ที่ทางสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงกำหนดขึ้น ซึ่งเป็นบบบัญชีที่ต้องจัดพิมพ์รายชื่อขึ้นมาใช้ ให้ผู้เข้าสอบแก้ไขและเซ็นในบัญชีนั้นๆ เลย
ความรวดเร็วที่เกิดขึ้น ถือว่า การใช้บัญชีในรูปแบบใหม่นี้เป็นไปด้วยดี มีความสะดวกรวดเร็วมากกว่าเดิมมาก ๆ
แต่เนื่องจากบางสำนักเรียน หรือ บางสนามสอบ ไม่ทราบว่า มีการเปลี่ยนแปลง อันเกิดจากการสื่อสารกันไม่ถึงในบางช่วงของเอกสารที่สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงส่งไปยังสำนักเรียนทั้งสำนักเรียนคณะจังหวัดและสำนักเรียนส่วนกลาง
มีบางสำนักเรียนยังใช้ในรูปแบบเดิมมาอยู่ ยังไงก็ขอแจ้งผ่านหน้าเว็บอีกครั้งนะครับ ทางสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงได้ส่งหนังสือแจ้งไปทุกสำนักเรียนอย่างเป็นทางการแล้วก่อนหน้านี้ ส่งไปพร้อมกับระเบียบปฏิบัติประจำปีนี้ โดยมีเอกสารตัวอย่าง และซีดีแบบฟอร์มนั้นไปด้วย
ในการสอบ "นักธรรมชั้นโท - เอก" และ "ธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก ที่จะมาถึงเร็วๆ นี้ ขอให้ได้ปรับเป็นบัญชีแบบใหม่ เพื่อความสะดวกรวดเร็วต่างๆ ที่จะตามมาในการประกาศผลสอบด้วย โดยเฉพาะ "ธรรมศึกษา" มีจำนวนมากกว่า "นักธรรม" หลายสิบเท่า หากยังไม่ปรับมาใช้ตามแบบที่กำหนด จะส่งผลไปถึงการประกาศผลสอบที่จะช้าไปด้วย จึงขอความกรุณาได้ใช้บัญชีแบบใหม่ตามที่ได้แจ้งไปแล้วนะครับ
ทราบว่า ในเบื้องต้น ทางสำนักเรียนคณะจังหวัดได้แจ้งไปยังสนามสอบต่างๆ เรื่องการพิมพ์แล้ว และจากการประเมินจากการตรวจสอบข้อมูลของการสอบ "นักธรรมชั้นตรี" พบว่า หลายสนามสอบได้ทำการแก้ไขและปรับปรุงข้อมูลมาให้เรียบร้อยแล้ว บัญชีมีการควบคุมได้ดีขึ้น ก็กราบขอบพระคุณทุกสำนักเรียนและทุกสนามสอบที่ได้ดำเนินการไปแล้วนะครับ
ท่านช่วยได้มากเลย....
คงกล่าวเนื้อหาในส่วนนี้ไว้เพียงเท่านี้ ส่วนเรื่องอื่นๆ คงจะตั้งกระทู้เพิ่มเติมให้อ่านถึงสภาพปัญหาที่ควรจะชี้แจงเพื่อความเข้าใจตรงกันต่อไป
แก้ไขโดย webmaster เมื่อ 20-10-2009 20:45
it not over until is over = มันยังไม่จบ จนกว่ามันจะจบ |
|
|
|
katathammo |
โพสเมื่อ 20-10-2009 21:03
|
Junior Member
ข้อความ: 20
เข้าร่วม: 01.10.09
|
ถามเรื่องเวลาที่พิมพ์ลงบัญชีรับใบตอบนั้นขอให้แจ้งเวลาให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วไประเทศด้วยครับ เช่น สอนธรรมศึกษา เริ่มเวลา .......... หมดเวลา .............. น. ทั้ง ๔ วิชาครับ (เพราะบางสำนักไม่เข้าใจครับ) |
|
|
|
webmaster |
โพสเมื่อ 20-10-2009 21:46
|
Super Admin
ข้อความ: 50
เข้าร่วม: 17.09.09
|
ตอบท่าน katathammo
ตรงส่วนบนของกระดาษนั้น ท่านไม่จำเป็นต้นพิมพ์ก็ได้ครับ ให้ปล่อยเป็นรอยจุดปะไว้เขียนเอาก็ได้ เพื่อให้เราได้บันทึกเป็นข้อมูลจริง เราคงทราบไม่ได้ว่า มีคนขาด คนสอบ เท่าไหรในห้องนี้
ตรงส่วนหัวที่หลายที่พิมพ์มานั้น ให้ว่างไว้อย่างนั้น เพื่อบันทึกด้วยลายมือเอาข้อมูลจริงเขียน ส่วนเวลาที่ถามมานั้น ให้ใช้เวลาจริงในการเริ่มสอบของแต่ละทีบันทึกลง (ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า เวลาเปิดข้อสอบกับเวลาเริ่มสอบนั้น เป็นคนละช่วง เวลาเปิดข้อสอบ เวลากลางกำหนดไว้พร้อมกันทั่วประเทศตามที่กำหนดไป เช่น วิชากระทู้ธรรมของธรรมศึกษา คือ เวลา ๐๘.๓๐ น. ก็ควรจะให้เป็นไปตามนั้น...
แบบปฏิบัติที่เคยปฏิบัติกันมานั้น คือ
เวลาเริ่มสอบจริงนั้น อาจจะช้ากว่าเวลาเปิดข้อสอบนั้นไป แต่ไม่ควรมากนัก ทั้งนี้ เมื่อถึงเวลาเปิดข้อสอบนั้นแล้ว ผู้รับผิดชอบในสนามสอบนั้นๆ จะดูแลข้อสอบที่เปิดนั้นไว้ จนกว่าความพร้อมในการทำข้อสอบจะเกิดขึ้น จึงจะนำข้อสอบนั้นไปแจกแก่ผู้เข้าสอบ และกำหนดเวลาสอบตามจริงบันทึกลงในเริ่มสอบเวลา..........น. หมดเวลา..........น. แต่การยั้งรอไม่ควรจะนานมากนัก เช่น หากกำหนดการเปิดดังวิชาข้างต้น แต่เวลาสอบจริงอาจจะเริ่มเวลา ๐๘.๔๐ น. หมดเวลา ๑๑.๔๐ น. ขยายเวลาหมดเวลาออกไปด้วย คิดว่าหลาย ๆ สนามสอบมีวิธีปฏิบัติเรื่องนี้อยู่แล้ว
สรุปว่า ตามที่ถามมานั้น การบันทึกด้านบนเรากำหนดเวลาเริ่มและเวลาหมดไม่ได้ก่อนแน่นอน สถานการณ์แต่ละสนามสอบมีความแตกต่างกัน เช่น มีห้องสอบจำนวนมาก เป็นต้น จึงควรบันทึกลงตามประกาศประชาสัมพันธ์ของแต่ละที่ตามเวลาจริงว่าเริ่มสอบเวลาใด หมดเวลาเวลาใด การยั้งรอหลังจากเปิดข้อสอบตามเวลากลางที่กำหนดไว้แล้ว ไม่ควรจะนานนัก ทั้งเวลายั้งรอความพร้อมนั้น ผู้เข้าสอบต้องอยู่ในห้องสอบรอเวลาหมดแล้ว
แก้ไขโดย webmaster เมื่อ 21-10-2009 07:33
it not over until is over = มันยังไม่จบ จนกว่ามันจะจบ |
|
|