|
|
กำหนดนักธรรมชั้นตรี วันที่ ๒๘ - ๒๙ - ๓๐ กันยายน – ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ |
|
นักธรรมชั้นตรี กำหนดสอบวันที่ ๒๘ - ๒๙ - ๓๐ กันยายน – ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ ตรงกับวันจันทร์ - อังคาร - พุธ - พฤหัสบดี ขึ้น ๙ - ๑๐ - ๑๑ - ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๑ รวมสอบ ๔ วัน ๆ ละ ๑ วิชา เริ่มสอบเวลา ๑๓.๐๐ น. ทั้ง ๔ วัน ให้เวลาวิชาละ ๓ ชั่วโมง
ก็ขอเป็นกำลังให้กับผู้เข้าสอบ ในทุกสนามสอบนักธรรมชั้นตรีประจำปีนี้นะครับ ถือเป็นขั้นต้นของผู้เข้ามาบวช หากอยู่ต่อไป ภูมิเหล่านี้ก็จะเป็นภูมิที่รักษาตนและเป็นภูมิในการศึกษาต่อไป แม้หากจะได้ลาสิกขาไป ความรู้ที่ได้รับการสั่งสอนมา ยังจะนำติดตัวไปสู่การปฏิบัติได้ สมกับที่ได้รับคำนำหน้าชื่อว่า "ทิด" หรือ "บัณฑิต" ด้วย
การดำเนินการสอบที่ดำเนินได้ทุกสนามสอบ นับแต่ต้นในอดีตมาจนถึงปัจจุบันได้ การส่งเสริมดังกล่าวย่อมอาศัยพระเถรานุเถระจัดการเรียนการสอน และจัดการสอบด้วยดีเสมอมา รวมทั้งได้รับการสนับสนุนอุปถัมภ์จากพุทธศาสนิกชนทั้งหลายด้วยดีตลอดมา
การจัดการเรียนการสอนและการสอบที่ยาวนานมาเช่นนี้ ย่อมอาศัยปัจจัยหลายอย่างประกอบกันจึงทำให้เกิดความสำเร็จขึ้นมาได้ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันง่ายๆ แบบที่เห็นมาถึงยุคปัจจุบันนี้ได้
พระเถรานุเถระในทั่วประเทศ ถือว่ามีบทบาทสำคัญที่ช่วยทำให้เกิดสิ่งมหรรศจรรย์เช่นนี้ได้ พระคุณท่านทั้งหลายได้ช่วยรับภาระสั่งสอนพระภิกษุ-สามเณรในอาวาสของตน จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของคณะสงฆ์ไทยต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน จนถึงส่งพระภิกษุสามเณรในสังกัดของตนเข้าสอบวัดความรู้ และร่วมกันจัดการสอบในสนามสอบทั่วประเทศ บทบาทเหล่านี้ เป็นบทบาทที่เกิดขึ้นจากความสามารถของพระเถรานุเถระทั้งหลายที่ควรนอบน้อมสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง หน้าที่การจัดการศึกษาอย่างเอาใจใส่อย่างนี้ สมกับเป็นผู้ร่วมสร้างชาติพัฒนาการศึกษาและสังคมมาในสังคมไทยในอดีต แม้ปัจจุบันก็ยังดำเนินการ
ในส่วนของผู้เข้าสอบเอง ถือว่า ไม่ละทิ้งหน้าที่ของตน
การศึกษานักธรรมนี้ ความหมายมิใช่เพียงการศึกษาแล้วเข้าสอบเท่านั้น หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี คือ การศึกษาเบื้องต้นที่พระภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่จะต้องศึกษาตามปกติอยู่แล้ว เพราะหลักสูตรนี้ เอื้อไปถึงการมีสิ่งที่จะอำนวยต่อการรักษาพระวินัยของพระภิกษุสามเณรผุ้เข้ามาบวชอยู่แล้ว ผู้บวชบวชใหม่ จะเป็นฝ่ายอรัญญวาสี หรือ คามวาสี ก็ตาม อย่างไรก็ต้องศึกษาพระธรรมวินัยเหล่านี้ เพื่อรักษาตนอยู่แล้ว ผู้ใดจะอ้างว่า ไม่บวชมาเรียน นับว่า ยังไม่ถูกต้องนัก เพราะพระธรรมวินัยคือสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ก่อนนำมาปฏิบัติอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น พระวินัย ๒๒๗ ข้อ ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาวินัยนักธรรมชั้นตรี ก็ถือว่า เป็นเบื้องต้นที่ผู้มาบวชจะต้องเรียนรู้เพื่อรักษาตนเองอยู่แล้ว
การเข้าสอบ ถือเป็นกำไรของสิ่งที่ได้ศึกษาเรียนรู้มา จะสอบได้หรือตกเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ผู้เข้าสอบได้ นับว่า มีความพร้อมในส่วนตน ถือว่า มีความรู้เบื้องต้นในพระพุทธศาสนามากพอสมควร ปฏิบัติตามนโยบายของคณะสงฆ์ไทยในการส่งเสริมการศึกษาความรู้ทางพระพุทธศาสนาเมื่อเข้ามาบวช อย่างไรก็ต้องประกาศยกย่องทุกท่านที่มีอุตสาหะเรียนรู้ตลอดไตรมาสที่ผ่านมา ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการสอบครับ
พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ถือว่า ได้ปฏิบัติตนเหมาะสมกับเป็นชาวพุทธ การอุปถัมภ์ทั้งการศึกษาและการสอบนี้ นับว่า ได้ช่วยกันรักษาคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้สืบเนื่องต่อไปในอนาคต พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้มีส่วนสำคัญในงานของคณะสงฆ์ครั้งนี้ในฐานะผู้อุปถัมภ์และสนับสนุนอย่างมากมายจนมิอาจกล่าวได้หมดสิ้น
การสอบในสี่วันนี้ จึงเป็นการสอบที่สื่อไปถึงหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่าง ที่ไม่อาจกล่าวได้หมด เพราะเป็นความอัศจรรย์ของการจัดการสอบที่ดำเนินการมาอย่างมีรูปแบบ อาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนมาช่วยกันดำเนินการ จึงทำให้ก้าวมาถึงปัจจุบันนี้ได้
ในฐานะผู้ดูแลเว็บไซต์ของสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง ขอกราบขอบพระคุณพระเถรานุเถระ พระเจ้าหน้าที่ในทุกพื้นที่ที่ท่านได้อุตสาหะจัดการเรียน การสอน และการสอบให้ดำเนินมาถึงปัจจุบันได้ ขอยกย่องท่านผู้เข้าสอบทุกท่าน และให้กำลังใจทุกท่านในการสอบครั้งนี้ และขออนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งต่อพุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่เอาใจใส่บำรุงพระพุทธศาสนา อุปถัมภ์การศึกษาสงฆ์ด้วยดีตลอดมา... |
|
|
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
อา. |
|
|
|
|
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
บุคคลทั่วไปออนไลน์: 94
สมาชิกออนไลน์: 0
สมาชิกทั้งหมด: 87
สมาชิกใหม่: tonls
|
|