ครบทสวรรษการจัดการสอนธรรมศึกษาของวัดป่าสำราญจิต จ.ชัยภูมิ
โพสโดย webmaster เมื่อ September 18 2009 18:37:14

ครบทสวรรษการจัดการสอนธรรมศึกษาวัดป่าสำราญจิต จ.ชัยภูมิ


วัดป่าสำราญจิต ต.บ้านชวน อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ เป็นวัดหนึ่่งที่ได้จัดการศึกษาแผนกธรรมเพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้เข้าสอบนักธรรมในทุกปีตามหลักสูตรของแม่กองธรรมสนามหลวง นอกจากนั้น ยังเป็นวัดหนึ่งที่มีการจัดการศึกษาสำหรับฝ่ายฆราวาสและส่งเข้าสอบธรรมศึกษา ในอดีต การส่งผู้เข้าสอบธรรมศึกษาในแต่ละปีมีจำนวนไม่แน่นอน มีผู้สมัครสอบเป็นลูกศิษย์วัดบ้าง ลูกหลานของชาวบ้านในพื้นบ้าง จำนวนไม่แน่นอน แต่ก็มีผู้เข้าสอบในลักษณะนี้เรื่อยมา แม้จะเคยมีการเข้าสอบจำนวนมากในอดีต แต่ก็เป็นช่วงสั้น ๆ ประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๒ วัดป่าสำราญจิตได้ร่วมมือกับคณะครูเปิดเป็นโรงเรียนสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (ขณะนั้น ผู้บันทึกข้อมูลยังเป็นสามเณรน้อยอยู่ที่วัดป่าสำราญจิต) โดยนำนักเรียนที่มาเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่วัดป่าสำราญจิต (นักเรียนในขณะนั้น เท่าที่จำได้เป็นนักเีรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม) ให้สมัครเข้าสอบธรรมศึกษาด้วย การดำเนินการในรูปแบบโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ได้ดำเนินกาต่อมาอีกไม่กี่ปี ก็เป็นอันหยุดไป จะด้วยสาเหตุใดไม่ทราบได้ การสอบธรรมศึกษาแบบจำนวนมากที่นี่ จึงหายไปด้วย


การสอนธรรมศึกษาที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดป่าสำราญจิต เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓
และในปีต่อ ๆ มาที่มีเรียนที่วัดป่าสำราญจิต

ต่อมา พ.ศ. ๒๕๔๓ ท่านหลวงพ่อ พระครูอนุรักษ์วัฒนกิจ (หลวงพ่อน้อย ตนฺติปาโล) เจ้าอาวาสวัดป่าสำราญจิตและเจ้าคณะอำเภอบำเหน็จณรงค์ (ธรรมยุต) ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลบ้านชวน (ธรรมยุต) ได้ร่วมมือกับโรงเรียนในพื้นที่ส่งบุคลลากรและนักเรียนเข้าสอบธรรมศึกษาด้วย โดยลักษณะการจัดเบื้องต้น เริ่มต้นดังนี้

เบื้องต้น (พ.ศ.๒๕๔๓) ได้ขอร่วมมือไปยังโรงเรียนชุมชนชวนวิทยา โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม และวิทยาลัยการอาชีพบำเหน็จณรงค์ อันเป็นสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับวัดป่าสำราญจิต เข้ามาเรียนที่วัดในวันเสาร์ - อาทิตย์ จากความร่วมมือในเบื้องต้น สถานศึกษาทั้งสามไ้ด้ส่งนักเรียนในสังกัดของตนสมัครเข้าอบรมและสมัครสอบในจำนวนมากพอสมควร ยกเว้น วิทยาลัยการอาชีพบำเหน็จณรงค์ที่มีผู้เข้าอบรมจำนวนไม่มากนัก (วิทยาลัยการอาชีพฯ มีอาจารย์สอนท่านหนึ่ง ชื่อ อ.ประจวบ บึงไสย์ มาสมัครสอบและเข้าอบรมทุกเสาร์ - อาทิตย์ และเข้าสอบต่อเนื่องจนจบธรรมศึกษาเอก) สนามสอบที่ใช้ในครั้งนั้น ทางวัดได้ขอใช้สถานที่ของโรงเรียนชุมชนชวนวิทยา ภายใต้การสนับสนุนของ ผอ.พุทธิวิจักข์ พกกลาง ผอ.โรงเรียนชุมชนชวนวิทยาในขณะนั้น (พ.ศ.๒๕๕๑ ย้ายมามาเป็น ผอ.โรงเรียนจัตุรัสวิทยานุกูล อ.จัตุรัส) และคณะครูในโรงเรียนชุมชนชวนวิทยาทุกท่านเป็นอย่างดี ทั้งในการให้ใช้สถานที่เป็นสนามสอบและสนับสนุนนักเรียนเข้าสอบ ในขณะที่โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม ผู้ติดต่อประสานงานกับทางวัดป่าสำราญจิต คือ อ.ประดิษฐ์ เกิดสิน หัวหน้าหมวดสังคมศึกษา และอาจารย์อดุลย์ จันทาทุม และคณะครูในหมวดสังคม เป็นผู้ประสานงานการนำนักเรียนมาสอบ พระวิทยากรประสานในขณะนั้น เป็นพระวิทยากรที่มาจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาปฏิบัติงานที่บ้านเกิดของตนที่วัดป่าสำราญจิตได้ริเริ่มประสานงานดำเนินงาน โดยร่วมมือกับพระมหานคร สจฺจญาโณ (คิดถาง) เลขานุการเจ้าคณะอำเภอบำเหน็จณรงค์ (ธรรมยุต) วัดป่าสำราญจิต ร่วมกันทำงานประสานมาจนถึงปัจจุบันนี้

การจัดในปีแรกนั้น ได้ขอความร่วมมือจากผู้ใจบุญซึ่งเป็นญาติโยมของวัดป่าสำราญจิต ได้มาช่วยกันเลี้ยงนักเรียนในทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ตลอดการเรียนการสอน ในแต่ละเสาร์-อาทิตย์ จึงเต็มไปด้วยบรรยากาศที่เป็นบุญเป็นกุศลที่ได้ร่วมกันดำเนินงาน มีญาติโยมได้สลับกันมาเลี้ยงนักเรียนตลอด


ผู้ปกครองมาเลี้ยงนักเรียนธรรมศึกษาตลอดช่วงที่มีการเรียนการสอน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓

ในปีต่อ ๆ มา ก็ยังมีการอบรมในลักษณะนี้อยู่ และต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นวิธีการเข้าไปอบรมก่อนสอบแทนการสอนในวันเสาร์ - อาทิตย์ เหมือนเดิม โดยในปีต่อ ๆ มานั้น เมื่่อถึงคราวก่อนสอบจะมีพระวิทยากรจากกรุงเทพมหานคร และพระวิทยากรในพื้นที่ที่ท่านมีความสามารถ เดินทางมาช่วยอบรมนักเรียนก่อนสอบธรรมศึกษามาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากจะมีเฉพาะนักเรียนสมัครเข้าสอบแล้ว ในโรงเรียนชุมชนชวนวิทยามีคณะครูนำโดย ผอ.พุทธิวิจักข์ พกกลาง และคณะครูได้เข้าสอบด้วย จนถึงบัดนี้ ครูในโรงเรียนชุมชนชวนวิทยาได้จบธรรมศึกษาเอกไปหลายท่าน ยกเว้น ครูที่ย้ายเข้ามาใหม่ในระยะหลัง

การดำเนินงานดังกล่าวได้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ภายใต้การประสานงานกันของวัดป่าสำราญจิตและสถานศึกษา มีผู้สอบผ่านธรรมศึกษาในจำนวนที่มาุกขึ้น ทั้งการประสานงานและการดำเนินงานเกี่ยวกับการสมัครสอบ การอบรม และการสอบ ได้เริ่มประสานงานได้สนิทยิ่งขึ้น เพราะครูของทั้งสองโรงเรียนเข้ามามีบทบาทช่วยงานคณะสงฆ์มากขึ้น ทั้งในการอบรม การจัดสนามสอบ และการควบคุมห้องสอบ ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากครูของสองสถานศึกษา



การอบรมก่อนสอบธรรมศึกษาที่ดำเนินการร่วมกับโรงเรียนชุมชนชวนวิทยาในปีต่อ ๆ มา



บรรยาการสอบธรรมศึกษาที่โรงเรียนชุมชนชนชวนวิทยา พ.ศ. ๒๕๕๑



ทุกปีเมื่อถึงคราวสอบ คณะครูโรงเรียนชุมชนชวนวิทยา
และครูจากโรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าสอบ
จะรับภาระงานสอบธรรมศึกษาช่วยงานคณะสงฆ์อย่างแข็งขัน
เป็นภาพที่เห็นมาตลอดที่จัดการสอบ

และต่อมา มีสถานศึกษาที่เข้ามาร่วมอีกหนึ่งแห่ง คือ โรงเรียนเริงรมย์วิทยาคม ตำบลโคกเริงรมย์ อำเภอบำเหน็จณรงค์ โดยการประสานงานของ อ.มุกดา เกิดสิน หมวดสังคม เป็นผู้ประสานงาน ภายใต้การสนับสนุนของผู้อำนวยการโรงเรียนเริงรมย์วิทยาคมและคณะครูด้วยดี ทางโรงเรียนได้ร่วมมือดีมาก ๆ โดยโรงเีรียนได้ส่งนักเรียนเข้าสอบทั้งโรงเรียน สนับสนุนการอบรม การสอบ วัดป่าสำราญจิตได้ขอเปิดสนามสอบไปที่สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง และได้รับอนุมัติให้โรงเรียนเริงรมย์วิทยาคมเป็นสนามสอบในการดูแลของสำนักงานเจ้าคณะอำเภอบำเหน็จณรงค์ (ธรรมยุต) และดำเนินการสอบที่โรงเรียนเิริงรมย์ิวิทยามาแต่ต้นที่เ้ข้าร่วม แต่เป็นที่น่าเสียดาย เนื่องจากพระวิทยากรที่จะไปอบรมในระยะหลังน้อยลง ทำให้การสอนที่โรงเรียนแห่งนี้ดำเนินการไปได้เพียง ๔ ปี เท่านั้น ก็ไม่สามารถไปอบรมก่อนสอบให้ต่อได้ เพราะต้องใช้พระวิทยากรไปอบรมที่สองโรงเรียนเดิม พระวิทยากรไม่เพียงพอที่จะไปอบรมต่อ

ดังกล่าวข้างต้นว่า ทางวัดป่าสำราญจิตได้ขอใช้สถานที่ของโรงเรียนชุมชนชวนวิทยาเป็นสนามสอบของวัดป่าสำราญจิต ทางโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคมมีนักเรียนเข้าสอบจำนวนมาก ไม่สะดวกต่อการจัดสถานที่และการนำนักเรียนมาสอบ ใน พ.ศ. ๒๕๔๘ ทางโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม ได้ทำหนังสือขอเปิดสนามสอบไปยังสำันักงานเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ (ธรรมยุต) เพื่อขอให้้ดำเนินการขอเปิดสนามสอบใหม่ที่โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม กับทางสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง และก็ได้รับการอนุมัติให้เปิดเป็นสนามสอบได้ สนามสอบธรรมศึกษา "โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม" จึงแยกมาสอบที่โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม ในการดูแลของสำนักงานเจ้าคณะอำเภอบำเหน็จณรงค์ (ธรรมยุต) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นมา


การอบรมก่อนสอบธรรมศึกษาที่ดำเนินการร่วมกับโรงเรียนบำเหน็จณรงค์ิวิทยาคมในปีต่อ ๆ มา



การเปิดสอบและสอบธรรมศึกษา สนามสอบ โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยา
ดำเนินการโดยวัดป่าสำราญจิตร่วมมือกับโรงเรียน
การสนับสนุน การจัดห้องสอบ การควบคุมห้องสอบ
ได้รับความช่วยเหลือจากโรงเรียนส่งบุคคลากรเข้ารับภาระช่วยเป็นอย่างดี

การดำเนินการอบรมก่อนสอบ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในระยะหลังถึงปัจจุบันนั้น ได้ดำเนินการโดยไม่ยึดติดในเรื่องพระวิทยากรว่าเป็นเป็นมหานิกายหรือธรรมยุต เป็นการอบรมโดยความร่วมมือกันของพระวิทยากรของทั้งสองนิกายที่มาช่วยงานกัน ผู้ประสานงานได้นิมนต์พระวิทยากรไม่ว่าจะทางกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด จะเป็นพระวิทยากรจากทั้งสองนิกายมาช่วยกันอบรม เพราะมุ่งไปที่ประโยชน์ด้านการสื่อธรรมะถึงประชาชนเป็นสำคัญในการทำงานนี้ พระิวิทยากรที่มีบทบาทสำคัญช่วยอบรมมาตลอดในระยะหลัง คือ พระมหาธนรัตน์ คุตฺตวํโส (พรามจร) วัดทรงธรรม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ แม้ว่าปฏิบัติงานด้านเลขานุการเจ้าคณะอำเภออยู่ที่นั่น แต่หากมีเวลาก็จะมาช่วยอบรมตลอด นอกจากนี้ ยังมีพระวิทยากรจากวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ และวัดอื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ประสานงานได้นิมนต์มาช่วยงานด้วย บางคราว การอบรมไม่จำกัดอยู่เฉพาะพระวิทยากรเท่านั้น บางปีก็ได้ขอให้ผู้สอบผ่านแล้ว เช่น ครูที่จบธรรมศึกษาเอกแล้ว หรือ บุคคลากรที่ำชำนาญการภายนอกอื่น ๆ เป็นต้น เข้ามาช่วยอบรม ทั้งการทำงานจะเน้นไปที่สถานศึกษาที่ยังไม่ผู้ดำเนินการ

ในการทำงานนี้ หากสถานศึกษาใดจะเข้ามาร่วมมาสมัครสอบ แต่สถานศึกษานั้น ๆ อยู่ในเขตของวัดอื่นที่พระวิทยากรจะดำเนินการได้ ก็จะขอให้ไปติดต่อกับวัดนั้น ๆ เพื่อกระจายงานออกไปให้มากในเรื่องนี้ เพราะการมีพระวิทยากรช่วยกันในจุดอื่น ๆ ก็จะเป็นการดีที่จะนำธรรมะสู่ประชาชาชนได้มากขึ้น จุดประสงค์ เป็นการทำงานที่ไม่เน้นปริมาณและสร้างผลงานด้วยปริมาณ แ่ต่เน้นคุณภาพของผู้สอบผ่านและความประพฤติที่จะได้จากการอบรม และให้เคารพต่อพระวิทยากรในเขตอื่น ๆ ที่ท่่านได้ทำอยู่่แล้ว หรือท่านมีศักยภาพที่จะดำนินการได้ในเขตนั้น ๆ ในการสอบแต่ละปี แม้จะมีผู้เข้าสอบจำนวนมาก แต่ผู้สอบไม่ผ่านก็มีจำนวนมากเช่นเดียวกัน แต่ดั่งที่กล่าวในเบื้องต้นแล้วว่า เป็นการทำงานเน้นคุณภาพ ไม่เน้นปริมาณการสอบได้ แต่เน้นถึงสิ่งที่นักเรียนผู้สมัครสอบจะได้ธรรมะจากเรื่องนี้เป็นสำคัญ



บรรยากาศการสอนที่โรงเรียนบ้านห้วย อ.จัตุรัส


บรรยากาศการอบรมก่อนสอบโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม


ในส่วนของสนามสอบ วัดป่าสำราญจิต ซึ่งเป็นสนามสอบเดิม ยังขอใช้สถานที่ของโรงเรียนชุมชนชวนวิทยามาต่อเนื่อง มีโรงเรียนอีกหลายโรงเรียนได้สมัครเข้ามาสอบเพิ่มเติม คือ โรงเรียนบ้านห้วย อำเภอจัตุรัส และโรงเรียนบ้านโป่งเกต อำเภอซับใหญ่ เพราะสถานที่สอบใกล้กับสถานศึกษา เป็นการสะดวกที่จะนำนักเรียนมาสอบที่วัดป่าสำราญจิต

การดำเนินการในปีต่อ ๆ มานั้น ได้มีการจัดทำเอกสารการอบรมเป็นเรื่องเป็นราว เพื่อใช้ในการอบรมของสองโรงเรียน คือ โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม และ โรงเรียนชุมชนชวนวิทยา ทั้งเอกสารดังกล่าวได้กระจายไปยังสถานศึกษาอื่น ๆ ที่ส่งนักเรียนเข้าอบรมด้วย กานจัดทำเอกสารขึ้นนี้ เป็นลักษณะการให้ยืม เมื่อสอบเสร็จก็คืนเอกสารมาเก็บไว้ (งบประมาณการจัดทำเอกสารหมดไปประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท เพราะจัดทำขึ้นต่อเนื่องทุก ๆ ปี) รวมทั้ง หากมีการแจกหนังสือเหล่านี้ในส่วนงานของคณะสงฆ์ใด ก็จะพยายามทำหนังสือขอมาเก็บไว้ให้มากที่สุด การดำเนินงานลักษณะนี้ได้เริ่มเข้าระบบแล้ว เนื่องเพราะการทำงานไม่ใช่แค่ปีสองปี แต่ทำงานมาอย่างเป็นระบบ นักเรียนทีอยู่ในระบบการอบรมมีความสนิทสนมไม่ห่างวัด จุดประสงค์การดำเนินงานเริ่มปรากฏขึ้น ระหว่างการทำงานแต่ละปี มีนักเรียนที่จบไปในแต่ละรุ่น (ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๓) แม้จะไปเรียนอยู่ในระดับมัธยมแล้ว เข้ามาช่วยงานเอกสารตลอด

เป็นดั่งได้กล่าวในเบื้องต้นแล้วว่า การทำงานประสานกันของพระวิทยากรในการทำงานนี้ชี้จุดมุ่งหมายในการทำงานการเผยแพร่ธรรมะเป็นสำคัญ ในระหว่างทำงานนี้ ได้ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างวัดและโรงเรียนได้ดีมาก เด็กในพื้นที่มีโอกาสได้เรียนธรรมะกับพระอาจารย์ที่มาอบรมสื่อความรู้สึกที่ดีไปถึงผู้ปกครองในการไม่ห่างวัด สมกับคำว่า "บวร" หมายถึง "บ้าน วัด โรงเรียน" ได้เป็นอย่างดี

นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๒ นี้ การดำเนินงานเกี่ยวกับการสอบธรรมศึกษานี้ ได้ดำเนินการผ่านมาแล้ว นับเป็นปีที่ ๑๐ แล้ว ถือว่าเป็นเวลาที่ยาวนานพอสมควร มีผู้สอบผ่านธรรมศึกษาในสังกัดของวัดป่าสำราญจิตเกือบ ๖,๐๐๐ คน นับว่ามีจำนวนมาก

ปัจจุบันนี้ วัดป่าสำราญจิตและเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอบำเหน็จณรงค์ (ธรรมยุต) มีสนามสอบที่แม่กองธรรมสนามหลวง อนุญาตให้เป็นสนามสอบธรรมศึกษาได้ (เฉพาะที่ดำเนินการ) จำนวน ๒ สนามสอบ คือ

๑. สนามสอบ วัดป่าสำราญจิต อำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็นสถานที่สอบของบุคคลากรและนักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ และบุคคลทั่วไปที่สมัครเข้าสอบ

๒ สนามสอบ โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม อำเภอบำเหน็จณรงค์ (โรงเรียนได้ดำเนินการขอเปิดเป็นสนามสอบธรรมศึกษาครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๘) เป็นสถานที่สอบเฉพาะของบุคคลากรและนักเรียนโรงเรียนบำเหน็จณณรงค์วิทยาคม

อ้างอิง : ครบ ๑๐ ปี การจัดการการสอนธรรมศึกษาของสำนักศาสนศึกษา วัดป่าสำราญจิต อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ

หมายเหตุ : สำนักศาสนศึกษาใดได้จัดรูปแบบไว้แล้วต้องการจัดลงเว็บ เชิญส่งได้ที่ [email protected]