หัวเรื่องกระทู้: สนง.แม่กองธรรมสนามหลวง :: ขอบข่ายหลักสูตรธรรมศึกษา ชั้นโท ฉบับปรับปรุง ๒๕๕๗

โพสโดย phng เมื่อ 24-07-2017 17:33
#1

ขอบข่ายหลักสูตรธรรมศึกษา ชั้นโท
ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๕๗

~ ~ ~ o ~ ~ ~
วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน
๑. อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย
อตฺตทตฺถมภิญฺาย สทตฺถปสุโต สิยา.

บุคคลไม่ควรพล่าประโยชน์ของตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก
รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

๒. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ
สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.

ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึงทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว
ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๓. อตฺตานเมว ปมํ ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต.

บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน
สอนผู้อื่นภำยหลังจึงไม่มัวหมอง.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๒. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม
๔. อติสีตํ อติอุณฺหํ อติสายมิทํ อหุ
อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว.

ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน
ด้วยอ้างว่า หนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว.
(พุทฺธ) ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๙.

๕. อถ ปาปานิ กมฺมานิ กรํ พาโล น พุชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ.

เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก
เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๓.

๖. ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ.

บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว.
สํ. ส. ๑๕/๓๓๓.

๗. โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ
อตฺถา ตสฺส ปลุชฺชนฺติ เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา.

ผู้ใด อันผู้อื่นทำควำมดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน
แต่ไม่รู้สึก (คุณของเขา) ประโยชน์ ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๘.

๘. โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ อนุพุชฺฌติ
อตฺถา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา.

ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน
ย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๘.

๙. โย ปุพฺเพ กรณียานิ ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ
วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ.

ผู้ใด ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อน ในภายหลัง ผู้นั้น ย่อมเดือดร้อน
ในภายหลัง ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่ม ฉะนั้น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชำ. เอก. ๒๗/๒๓.

๑๐. สเจ ปุพฺเพกตเหตุ สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ
โปราณกํ กตํ ปาปํ ตเมโส มุญฺจเต อิณํ.

ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ
ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ปญฺญาส. ๒๘/๒๕

๑๑. สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ.

สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๒.

๑๒. สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส ลภเต สุขํ.

สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๒.

๓. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๑๓. อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก.

ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน.
(พุทฺธ) ส. ม. ๒๒๒.

๑๔. เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ
ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนติ ขนฺติโก.

ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดราก
แห่งความติเตียนและการทะเลาะกันเป็นต้นได้.
(พุทฺธ) ส. ม. ๒๒๒.

๑๕. ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา
ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก.

ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ
ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
(พุทฺธ) ส. ม. ๒๒๒.

๑๖. สตฺถุโน วจโนวาทํ กโรติเยว ขนฺติโก
ปรมาย จ ปูชาย ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก.

ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
และผู้มีขันติชื่อว่าบูชาพระชินเจ้า ด้วยบูชาอย่างยิ่ง.
(พุทฺธ) ส. ม. ๒๒๒.

๑๗. สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติ ปธานการณํ
สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต.

ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ
กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น.
(พุทฺธ) ส. ม. ๒๒๒.

๔. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑๘. อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส พลิพทฺโทว ชีรติ
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ.

คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่
อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๕.

๑๙. ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโญ อปิ วิตฺตปริกฺขยา
ปญฺญาย จ อลาเภน วิตฺตวาปิ น ชีวติ.

ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้
แต่อับปัญญาแม้มีทรัพย์ ก็เป็นอยู่ไม่ได้.
(มหากปฺปินเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๕๐.

๒๐. ปญฺญวา พุทฺธิสมฺปนฺโน วิธานวิธิโกวิโท
กาลญฺญู สมยญฺญู จ ส ราชวสตึ วเส.

ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงาน
รู้กาลและรู้สมัย เขาพึงอยู่ในราชการได้.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๓๙.

๒๑. ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ
นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ
สีลํ สิรี จาปิ สตญฺจ ธมฺโม
อนฺวายิกา ปญฺญวโต ภวนฺติ.

คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐที่สุด
เหมือนพระจันทร์ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย
แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไปตามผู้มีปัญญา.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา.จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๔๑.

๒๒. มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ.

ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย
ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๕๓.

๒๓. ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน
อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ.

คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๐.

๒๔. ยาวเทว อนตฺถาย ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ.

ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย
มันทำสมองของเขาให้เขว ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๔.

๒๕. โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน.

ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ดีกว่า.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๙.

๕. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๒๖. อสนฺเต นูปเสเวยฺย สนฺเต เสเวยฺย ปณฺฑิโต
อสนฺโต นิรยํ เนนฺติ สนฺโต ปาเปนฺติ สุคตึ.

บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบสัตบุรุษ
เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีสติ. ๒๗/๔๓๗.

๒๗. ตครํ ว ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ
ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา.

คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด
การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา.วีสติ. ๒๗/๔๓๗.

๒๘. น ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ
โคธากุลํ กกณฺฏาว กลึ ปาเปติ อตฺตนํ.

ผู้คบคนชั่ว ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้
เขาย่อมยังตน ให้ประสบโทษ เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๖.

๒๙. ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคเล
โอวาเท จสฺส ติฏฺเฐยฺย ปตฺเถนฺโต อจลํ สุขํ.

ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย
คบแต่บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน.
(วิมลเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๐๙.

๓๐. ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ
กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา.

คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่า
ไปด้วยฉันใด การคบกับคนพลก็ฉันนั้น.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๐๓.

๓๑. ยาทิสํ กุรุเต มิตฺตํ ยาทิสญฺจูปเสวติ,
โสปิ ตาทิสโก โหติ สหวาโส หิ ตาทิโส.

คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด
เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกัน ย่อมเป็นเช่นนั้น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีสติ. ๒๗/๔๓๗.

๓๒. สทฺเธน จ เปสเลน จ ปญฺญวตา พหุสฺสุเตน จ
สขิตํ หิ กเรยฺย ปณฺฑิโต ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม.

บัณฑิต พึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก
มีปัญญาและเป็นพหูสูต เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ.
(อานนฺทเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๕.

วิชาธรรมวิภาค

ทุกะ หมวด ๒
กัมมัฏฐาน ๒
กาม ๒
บูชา ๒
ปฏิสันถาร ๒
สุข ๒

ติกะ หมวด ๓
อกุศลวิตก ๓
กุศลวิตก ๓
อัคคิ ๓
อธิปเตยยะ ๓
ญาณ ๓
ตัณหา ๓
ปิฎก ๓
พุทธจริยา ๓
วัฏฏะ ๓
สิกขา ๓
สามัญญลักษณะ ๓

จตุกกะ หมวด ๔
อปัสเสนธรรม ๔
อัปปมัญญา ๔
พระอริยบุคคล ๔
สัมปรายิกัตถประโยชน์ ๔
มรรค ๔
ผล ๔

ปัญจกะ หมวด ๕
อนุปุพพีกถา ๕
มัจฉริยะ ๕
มาร ๕
นิวรณ์ ๕
ขันธ์ ๕
เวทนา ๕

ฉักกะ หมวด ๖
จริต ๖
ธรรมคุณ ๖

สัตตกะ หมวด ๗
อปริหานิยธรรม ๗

อัฏฐกะ หมวด ๘
มรรคมีองค์ ๘

นวกะ หมวด ๙
พุทธคุณ ๙
สังฆคุณ ๙

ทสกะ หมวด ๑๐
บารมี ๑๐
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

วิชาอนุพุทธประวัติและศาสนพิธี

๑. พระอัญญาโกณฑัญญะ
๒. พระอุรุเวลกัสสปะ
๓. พระสารีบุตร
๔. พระโมคคัลลานะ
๕. พระมหากัสสปะ
๖. พระมหากัจจายนะ
๗. พระอานนท์
๘. พระอุบาลี
๙. พระสิวลี
๑๐. พระราหุล
๑๑. พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
๑๒. พระเขมาเถรี
๑๓. พระอุบลวรรณาเถรี
๑๔. พระปฏาจาราเถรี
๑๕. พระกีสาโคตมีเถรี
๑๖. บัณฑิตสาเณร
๑๗. สังกิจจสามเณร
๑๘. สุขสามเณร
๑๙. วนวาสีติสสสามเณร
๒๐. สุมนสามเณร
๒๑. อนาถบิณฑิกเศรษฐี
๒๒. จิตตคฤหบดี
๒๓. ธัมมิกอุบาสก
๒๔. วิสาขามหาอุบาสิกา
๒๕. มัลลิกาเทวี

ศาสนพิธี
บทที่ ๑
พิธีบำเพ็ญกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันเข้าพรรษา
พิธีบำเพ็ญพระราชกุศลวันเข้าพรรษา
วันเทโวโรหณะ
วันธรรมสวนะ

บทที่ ๒
พิธีเจริญพระพุทธมนต์
พิธีทำบุญอายุ
งานทำบุญอายุจัดพิธีนพเคราะห์
พิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์
พิธีทำบุญต่อนาม
พิธีวางศิลาฤกษ์

บทที่ ๓
พิธีสวดพระพุทธมนต์
พิธีบังสุกุลปากหีบ
พิธีสวดพระอภิธรรมศพ
พิธีบำเพ็ญกุศล ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน
พิธีทำบุญงานฌาปนกิจศพ
พิธีสวดมาติกาบังสุกุล
พิธีสวดแจง
พิธีฌาปนกิจศพและพระราชทานเพลิงศพ
พิธีเก็บอัฐิและพิธีสามหาบ
พิธีทำบุญฉลองอัฐิ
พิธีบรรจุศพ

บทที่ ๔
เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา
พิธีลอยกระทงตามประทีป
พิธีถวายผ้าป่า
พิธีถวายผ้ากฐิน

บทที่ ๕
ประเพณีสำคัญทางพระพุทธศาสนา
พิธีบรรพชาสามเณร
พิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
พิธีปลงผมและทำขวัญนาค

วิชาวินัย (อุโบสถศีล)

ความหมายของอุบสถศีล
วัตถุประสงค์ของการรักษาอุโบสถศีล
ประวัติความเป็นมาของอุโบสถศีล
อานิสงส์ของอุโบสถศีล
โทษของการไม่มีศีล
วิรัติ
ประเภทของอุโบสถศีล
อุโบสถศีลมีผลน้อยและมีผลมาก
ความแตกต่างระหว่างอุโบสถศีลและศีล ๘
ระเบียบพิธีสมาทานอุโบสถศีล
อุโบสถศีลกับพระรัตนตรัย
การกล่าวถึงพระรัตนตรัยเป็นครั้งแรก
ความหมายของพระรัตนตรัย
ความเป็นหนึ่งแห่งพระรัตนตรัย
พระรัตนตรัยเป็นสรณะที่ปลอดภัย
การเข้าไปหาพระรัตนตรัย
สรณะ
ไตรสรณคมน์
ไตรสรณคมน์ขาด
ไตรสรณคมน์เศร้าหมอง
โทษของการล่วงละเมิดสิกขาบท
เวรของการล่วงละเมิดสิกขาบท
อุโบสถศีลสิกขาบทที่ ๑
อุโบสถศีลสิกขาบทที่ ๒
อุโบสถศีลสิกขาบทที่ ๓
อุโบสถศีลสิกขาบทที่ ๔
อุโบสถศีลสิกขาบทที่ ๕
อุโบสถศีลสิกขาบทที่ ๖
อุโบสถศีลสิกขาบทที่ ๗
อุโบสถศีลสิกขาบทที่ ๘
~ ~ ~ o ~ ~ ~
ผู้จะเข้าสอบประโยคธรรมศึกษาชั้นโท
ต้องสอบได้ประโยคธรรมศึกษาชั้นตรีมาแล้วเท่านั้น

แก้ไขโดย phng เมื่อ 29-07-2017 00:25